หลักการและวัตถุประสงค์: เด็กที่มาร้านยาด้วยอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย อาจป่วยด้วยโรคที่รุนแรง การซักประวัติและสืบหาข้อมูลให้ครอบคลุมมีความสำคัญมาก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดคำถามให้เภสัชกรใช้แยกเด็กที่ควรได้พบแพทย์จากเด็กที่มาร้านยาด้วยอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย
วิธีการศึกษา: ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) โดยให้กุมารแพทย์ตอบแสดงความเห็นต่อร่างชุดคำถามที่ทำขึ้นจากแนวคิดของ Integrated Management of Childhood Illnesses (IMCI) ขององค์การอนามัยโลก เพื่อใช้กับเด็กที่มาด้วย ไข้ ไอ มีน้ำมูก อาเจียน และ ท้องเสีย คำนวณคะแนนเป็น mean, mode และ inter quartile range (IQR) สอบถามจนกว่าจะได้คำตอบที่สอดคล้องกัน คือ IQR ของคำตอบอยู่ระหว่าง 0 - 1.5 คำถามที่ได้ mean ไม่ต่ำกว่า 4 จาก 5 คะแนน และ IQR ระหว่าง 0 1.5 จะถูกรวบรวมมาเป็นชุดคำถามไว้ทดลองใช้จริงต่อไป
ผลการศึกษา: ได้ IQR ระหว่าง 0 1.5 จากการสอบถาม 2 รอบ โดยได้คำถามที่ใช้ซักประวัติและสืบหาข้อมูลสำหรับเด็กที่มาด้วยไข้ ไอ มีน้ำมูก อาเจียน และ ท้องเสีย จำนวน 8, 10, 7, 7 และ 9 ข้อตามลำดับ และได้ลักษณะอาการที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าควรส่งต่อแพทย์ จำนวน 10, 8, 3, 7 และ 7 ข้อตามลำดับ
สรุป: ได้ชุดคำถามที่พร้อมนำไปทดลองใช้สำหรับเด็กอายุระหว่าง 2 เดือน ถึง 5 ปี ที่มาร้านยาด้วย ไข้ ไอ มีน้ำมูก อาเจียน และท้องเสีย
Background and Objective: Children with common illnesses presenting at community pharmacies may have more serious conditions. Patient interviews can identify these problems and this study aimed to develop a checklist to help community pharmacists identify and refer children with serious conditions.
Method: A questionnaire based on the Integrated Management of Childhood Illnesses concept of the World Health Organization was developed and assessed using the Delphi technique by a panel of pediatricians across Thailand. The questionnaire contained questions related to the clinical manifestations of fever, cough, runny nose, vomiting and diarrhea. Respondents assessed the quality of each question on a scale of 1 to 5 and mean, mode and inter quartile range (IQR) were calculated. Items with a mean of not less than 4 out of 5 points and an IQR between 0 1.5 were chosen to construct the checklists.
Result: For patients presenting with fever, 8 questions and 10 signs or symptoms that indicate referral were identified. Similarly, 10 questions and 8 signs and symptoms were identified for patients with cough, 7 questions and 3 signs and symptoms for patients with runny nose, 7 questions and 7 signs and symptoms for patients with vomiting and 9 questions and 7 signs and symptoms were identified for patients with diarrhea.
Conclusion: The checklists to identify serious conditions for referral has been constructed and is ready to be tested in children aged 2 months to 5 years attending pharmacies with fever, cough, runny nose, vomiting or diarrhea.
. . .
Full text.
|