บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การนำเอาสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวมาใช้ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ทรวงอกและช่องท้องจะช่วยลดอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง
รูปแบบ: เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย
สถานที่ทำการศึกษา: หน่วยรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้องที่ได้รับการฉีดสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว Iopamidol 300 และ Iopromide300 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544 ถึงพฤษภาคม 2545 จำนวน 1,064 ราย
การวัดผล: ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสี
ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการใช้สารทึบรังสีทั้ง
สองชนิด ปริมาณที่ฉีด และวิธีการฉีด( p = 0.298, 0.082, 0.911 ตามลำดับ) ส่วนในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่โรคหัวใจ(37/1,064) โรคภูมิแพ้(58/10,64) โรคหอบหืด(31/1,064) โรคความดันโลหิตสูง(95/1,064) และโรคเบาหวาน(89/1,064) ไม่พบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสี (p=0.423, 0.846, 0.299, 0.955 และ0.620 ตามลำดับ) ยกเว้นประวัติการแพ้อาหารทะเลมีผลต่อการแพ้สารทึบรังสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p < 0.05)
สรุป:จากการศึกษามีเพียงประวัติการแพ้อาหารทะเลที่มีผลต่อการแพ้สารทึบรังสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract
Background: The use of non ionic contrast media is favored by many imaging modalities because, supposedly, it has putatively fewer complication.
Objective: To study risk factors that are associated with allergic reaction to non ionic contrast media in patients undergoing chest or abdominal computed tomography.
Design: Descriptive study.
Setting: Diagnostic Radiology Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine,Khon Kaen University.
Intervention: Prospective study between December 2001 and May 2002 of 1,064 patients undergoing chest or abdominal computed tomography (CT) and receiving intravenous, non- ionic contrast media Iopamidol 300 or Iopromide 300 .
Measurement: Adverse effect during administration of any non- ionic intravenous contrast media.
Result: No statistically significant difference was found between the kind of media, amount or method of injection of either non ionic contrast media ( p =0.298, 0.082 and 0.911). No statistically significant adverse affect was found related to any underlying disease i.e. heart disease (37/1,064), allergy (58/1,064), asthma (31/1,064), hypertension (95/1,064), and diabetes mellitus (89/1,064) (p= 0.423, 0.846, 0.299, 0.955, 0.620, respectively) except a history of seafood allergy ( p < 0.05).
Conclusion: A history of seafood allergy is the only risk factor associated with allergic reaction to the non- ionic contrast media.
. . .
Full text.
|