Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Incidence of Tube Changing when Using Motomoya Formula for Calculation of Cuffed Endotracheal Tube Size in Pediatric Patients

อุบัติการณ์ของการเปลี่ยนท่อช่วยหายใจเมื่อใช้สูตรโมโตโมยาในการคำนวณขนาดท่อช่วยหายใจแบบมีกระเปาะลมสำหรับผู้ป่วยเด็ก

Atipong Pathanasethpong (อธิพงศ์ พัฒนเศรษฐพงษ์) 1, Thitinuch Ruenhunsa (ธิตินุช รื่นหรรษา) 2




หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันท่อช่วยหายใจแบบมีกระเปาะถูกพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเด็ก โดยมีสูตรคำนวณคือสูตรของ Motomoya [(อายุ/4) +3.5] และสูตรของ Khine [(อายุ/4) +3.0] ทว่าในปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่าสูตรใดมีความเหมาะสมในการคำนวณขนาดท่อช่วยหายใจ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการต้องเปลี่ยนท่อช่วยหายใจไปเป็นขนาดเล็กลงเมื่อใช้สูตรของ Motomoya

วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้ป่วยเด็กจำนวน 50 ราย ที่มีแผนเข้ารับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วนด้วยการระงับความรู้สึกทั่วตัว เงื่อนไขในการเข้าร่วมคืออายุระหว่าง 2 ถึง 10 ปี และ ASA physical status 1 หรือ 2 เงื่อนไขในการตัดออกคือความเสี่ยงต่อการสำลักอาหารหรือภาวะใส่ท่อช่วยหายใจยาก ขนาดท่อช่วยหายใจคำนวณโดยใช้สูตรของ Motomoya และการใส่ท่อช่วยหายใจทำโดยบุคลากรทางวิสัญญีผู้มีประสบการณ์ด้วยการดูกล่องเสียงโดยตรง (ขนาดท่อที่ใช้คือ 4.0 สำหรับอายุ 2 – 3.5 ปี ขนาด 4.5 สำหรับอายุ 3.5-5.5 ปี ขนาด 5.0 สำหรับอายุ 5.5 – 7.5 ปี ขนาด 5.5 สำหรับอายุ 7.5-9.5 ปี และ 6.0 สำหรับ 9.5 – 10 ปี)

ผลการศึกษา:  สามารถใส่ท่อช่วยหายใจให้ผู้ป่วยได้ทุกคน ไม่มีผู้เข้าร่วมที่ต้องเปลี่ยนเป็นท่อช่วยหายใจขนาดเล็กลง ค่าเฉลี่ยของคาร์บอนไดออกไซด์ ณ จุดที่หายใจออกสุดคือ 34.1 ± 2.43 มม.ปรอท ค่าเฉลี่ยความดันทางเดินหายใจสูงสุดคือ 16.86± 3.86 ซม.น้ำ  ผู้เข้าร่วมทุกคนไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจในช่วงสองวันหลังการผ่าตัด

สรุป: สูตรของ Motomoya เหมาะสมที่จะเป็นสูตรคำนวณสำหรับท่อช่วยหายใจแบบมีกระเปาะในผู้ป่วยเด็ก

Background and objectives: Cuffed endotracheal tube has been proven as safe to use in pediatric population. Two formulae have been proposed for calculation of tube size of cuffed endotracheal tube: Motomoya’s formula [(Age/4) +3.5] and Khine’s formula [(Age/4) +3.0]. However, it is not clear which formula is appropriate for calculation of endotracheal tube size. The present study aimed to investigate the frequency of tube exchange to a smaller tube size when the starting tube size is calculated using Motomoya’s formula.

Methods: Fifty pediatric patients who had been scheduled for elective surgery under general anesthesia were recruited. Inclusion criteria were age between 2 to 10 years old, and ASA physical status 1 or 2. Exclusion criteria were increased risk of pulmonary aspiration or difficult airway. Cuffed endotracheal tube size was calculated using Motomoya’s formula and patients were intubated by experienced anesthetic personnel using direct laryngoscopy. (Tube size 4.0 for age 2-3.5 years old, size 4.5 for 3.5-5.5 years old, size 5.0 for 5.5-7.5 years old, size 5.5 for 7.5-9.5 years old and 6.0 for 9.5-10 years old.

Results:  All patients were successfully intubated. None required exchanging to a smaller tube size. Mean end tidal CO2 was 34.1± 2.43 mm Hg. Mean of peak airway pressure was 16.86 ± 3.86 cm H2O. None of the patients had complications related to intubation within two days after the operation.

Conclusion: Motomoya’s formula is appropriate as a starting formula for cuffed endotracheal tube size in pediatric population.

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0