หลักการและเหตุผล: การบันทึกความปวดหลังผ่าตัดเป็นสัญญาณชีพที่ 5 มีความสำคัญเพราะช่วยให้ทีมงานดูแลผู้ป่วยสามารถติดตามผลการรักษาได้ใกล้ชิดขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อทดลองใช้แบบบันทึกความปวดเป็นสัญญาณชีพที่ 5 ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ descriptive study
สถานที่ศึกษา: ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิธีการดำเนินการวิจัย: ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย 1) พัฒนาแบบบันทึกความปวด 2) ชี้แจงวิธีการประเมินความปวด (numeric rating scale 0-10) และวิธีบันทึกแก่พยาบาลผู้ปฏิบัติงาน 3) ทดลองใช้แบบบันทึกเป็นเวลา 1 เดือน โดยประเมินและบันทึกความปวด (pain at rest) ทุก 4 ชั่วโมงเช่นเดียวกับสัญญาณชีพอื่นๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วันในผู้ป่วยทุกราย ยกเว้นผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 10 ปี และหลังผ่าตัดแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านภายใน 2 วัน
การวัดผลการศึกษา: นับจำนวนครั้งที่บันทึกในผู้ป่วยแต่ละรายในแต่ละวัน สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความปวดมาก ( > 7 คะแนน) ในแต่ละวัน และสอบถามความเห็นของพยาบาลผู้ใช้แบบบันทึก
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่ได้รับผ่าตัด 121 ราย (หอผู้ป่วย # 1 และ # 2 จำนวน 49 และ 72 ราย ตามลำดับ) มีการบันทึกอาการปวดตามเกณฑ์ที่กำหนด 81 ราย (67%) พบว่าส่วนใหญ่มีการบันทึกความปวดใน 3 วันแรกหลังการผ่าตัด 2-3 ครั้งต่อวัน ผู้ป่วยที่มีความปวด > 7 คะแนนในวันผ่าตัดและ 1 วันหลังผ่าตัดมีประมาณร้อยละ 43-45 พยาบาลที่บันทึกส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เห็นด้วยที่จะใช้แบบบันทึกเป็นสัญญาณชีพที่ห้าและใช้ในงานประจำเช่นเดียวกับสัญญาณชีพอื่นๆ
สรุป: ได้ทดลองใช้แบบบันทึกความปวดเป็นสัญญาณชีพที่ห้าในผู้ป่วยหลังผ่าตัด พบว่ามีการบันทึกความปวดร้อยละ 67 พยาบาลผู้บันทึกมีความเห็นว่าแบบบันทึกนี้เหมาะสมที่จะใช้ในงานประจำเช่นเดียวกับสัญญาณชีพอื่นๆ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการใช้แบบบันทึกนี้ในโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ต่อไป
Background: Postoperative pain should be closely monitored by regular scoring and documenting it as the 5th vital sign.
Objective: To evaluate the use of a revised Graphic Sheet for recording pain scores as the 5th vital sign.
Design: Descriptive study.
Setting: Orthopedic surgical wards at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University, Thailand.
Methods: The sequences of the study included: 1) revision of the old record form; 2) orientation of the ward nurses on how to assess and to document pain scores; and 3) the new Graphic Sheet was tested for 1 month. Pain (at rest) was assessed by nurses 4- hourly along with the other four vital signs for at least 3 days on every patient. The assessment was excepted in patients younger than 10 years or whose hospital stay was shorter than 2 days.
Outcome Measures: All recorded Graphic Sheets were audited. The value of pain scores were recorded each day and the number of patients with severe pain (score > 7) noted. A questionnaire about using the Graphic Sheet was sent to each nurse involved in recording the pain scores for practicability study.
Results: A total of 121 patients, 49 from Ward #1 and 72 from Ward # 2, were operated on during the study period. Sixty-seven percent of the patients had their pain scores recorded on the Graphic Sheet and these were done between 2 and 3 times per day. The number of patients with severe pain on postoperative day 0 and day 1 was 43 and 45 percent, respectively. Most of the nurses (95%) agreed that the Graphic Sheet was useful for documenting pain scores as the 5th vital sign and in daily practice.
Conclusion: The revised Graphic Sheet for documenting pain scores was tested. The pain scores were documented in 67 percent of the patients. The Graphic Sheet was useful for postoperative pain management, therefore it should be promoted for use in the other surgical wards. . . .
Full text.
|