วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึก ภาวะแทรกซ้อนและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการศึกษา : Prospective, descriptive study
วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทยของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อหาภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีวิทยาในประเทศไทย การศึกษานี้ทำการรวบรวมข้อมูลในส่วนของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั้งในและนอกห้องผ่าตัด โดยเมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึกจะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการแก้ไขตามแบบบันทึกข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั้งสิ้น 10,601 ราย อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึกพบ 47 ราย คิดเป็น 44.33 ต่อ 10,000 ราย (95%CI 32.59, 58.91) โดยสาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากความดันโลหิตตก (53.19 เปอร์เซ็นต์) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ภาวะฉุกเฉิน (29.67 เปอร์เซ็นต์) การเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อม (16.48 เปอร์เซ็นต์) บุคลากรขาดประสบการณ์ (15.38 เปอร์เซ็นต์) การตัดสินใจไม่เหมาะสม (12.09 เปอร์เซ็นต์) แนวทางการแก้ไขคือ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพทั้งบุคลากร เครื่องมือ และพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร
สรุป : ภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ ความดันโลหิตตกเนื่องจากการสูญเสียเลือดซึ่งแนวทางการป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร และเครื่องมือทางวิสัญญีวิทยา
Objective: To identify the incidence of anesthesia-related cardiac arrest complications and related factors.
Design: Prospective, descriptive study.
Methods: This was part of a multi-center study conducted by the Thai Royal College of Anesthesiologists for surveillance of anesthetic-related complications in Thailand in 2003. We collected data from all of the cases receiving anesthesia service at Srinagarind Hospital between January 1 and December 31, 2003, to report the incidence of cardiac arrest and analyze the causes in order to improve the quality of service. Events of cardiac arrest were reported by the attending anesthesia personnel and anesthesiologists. All the forms were checked and verified by the principal author then included in the study.
Results: 10,601 patients were included in this study. The incidence of cardiac arrest was 47 (44.33 per 10,000 95%CI 32.59, 58.91). The most common cause was hypotension (53.19%) while contributing factors included emergency situation (29.67%), poor patient preparation (16.48%), lack of experience (15.38%) and inappropriate decision-making (12.09%). The suggested corrective strategies were quality assurance activity and additional training.
Conclusion: The most common cause of cardiac arrest during anesthesia at Srinagarind Hospital was hypotension from massive blood loss. Preventive and corrective strategies would include quality assurance activities that involve personnel development and the provision of sufficient equipment.
. . .
Full text.
|