Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Management Time of Operating Room for Emergency Patients in Office Hour at Srinagarind Hospital

ระยะเวลาการบริหารจัดการห้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินในเวลาราชการของโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Palardej Narrautto (พละเดฑ นารัตน์โท) 1, Wanichada Martsud (วะนิชดา มาตย์สุด) 2, Wanarat Chinnapan (วนารัตน์ ชิณพันธ์) 3, Somboon Bulanleamwong (สมบูรณ์ บุหลันเลี่ยมวงศ์) 4, Pikul Malasai (พิกุล มะลาไสย) 5, Punlop Boondech (พัลลภ บุญเดช) 6, Polpun Boonmak (พลพันธ์ บุญมาก) 7




หลักการและวัตถุประสงค์: ห้องผ่าตัดฉุกเฉินต้องพร้อมให้บริการผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน ซึ่งมีตัวชี้วัดคือ ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดในเวลาที่เหมาะสมตามความเร่งด่วนดังนั้นจึงต้องการศึกษาการได้รับการผ่าตัดภายในเวลาที่กำหนดในเวลาราชการ ระยะเวลาแต่ละขั้นตอนและปัญหาที่พบเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่รับบริการที่ห้องผ่าตัดฉุกเฉินในเวลาราชการโดยใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยและแบบบันทึกข้อมูล ผู้ป่วยถูกแบ่งกลุ่มตามความเร่งด่วนของการผ่าตัดโดยแพทย์เจ้าของไข้ ผู้ร่วมวิจัยบันทึกเวลาในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่เมื่อมีความประสงค์ใช้ห้องผ่าตัดไปจนถึงผู้ป่วยได้รับการทำหัตถการแล้วเสร็จ และบันทึกโอกาสพัฒนาที่พบ

ผลการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วย132 ราย ผู้ป่วยฉุกเฉินมากไม่มีรายใดสามารถผ่าตัดภายใน 15 นาที ผู้ป่วยฉุกเฉินร้อยละ 65.2 สามารถผ่าตัดภายใน 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยด่วนร้อยละ 91.8 สามารถผ่าตัดภายใน 6 ชั่วโมง และผู้ป่วยทั่วไปทุกคนสามารถผ่าตัดภายในเวลาที่กำหนด ค่ามัธยฐานของระยะเวลาในการรอผ่าตัด2 ชั่วโมง ปัญหาที่พบคือ จำนวนห้องผ่าตัดไม่เพียงพอและปัญหาของกระบวนการตั้งแต่ขั้นตอนในห้องผ่าตัดการเตรียมผู้ป่วย การประสานงาน และการรับส่งผู้ป่วย

สรุป: ผู้ป่วยบางส่วนได้รับการผ่าตัดช้ากว่าที่คาดหวัง สาเหตุจากห้องผ่าตัดไม่เพียงพอและปัญหาของระบบทำงาน ดังนั้นการบริหารจัดการอย่างมีระบบน่าจะช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยได้

 

Background and Objective: Emergency operating roomsmust be readiness for emergency procedure. Their key performance index is “all patients received procedure within optimized time depend on triage”. So, we would like to study percentage of patients that received procedure within optimized time during in-office hour and process time of each steps, including obstacles for quality improvement.

Methods: This study was prospective descriptive study. We studied in patients who received service in emergency operating room during in-office hour. Data were sought from medical record and study record. Patients were classified depend on their emergency condition group by surgeons (triage). We recorded process time of each steps from request for service until finished procedure. We also recorded obstacles.

Result: One hundred and thirty-two patients were included into study. None of true emergency cases were received procedure within 15 minutes. Emergency cases that received procedure within 1 hour were 65.2%. Urgency cases that received procedure within 6 hours was 91.8%. And all elective cases received procedure within expected period. Median of waiting time was 2 hours. Obstacles were insufficient operating room, working process problem, patient preparation problem, coordination problem, and patient transferring problem.

Conclusion: Some patients did not receive procedure within optimized time period. Obstacles were insufficient operating room, working process. Systematic operating room management might improve patient case quality.

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0