e-journal Editor page
Techniques for Postoperative Pain Management After Total Knee Arthroplasty in Srinagarind Hospital
เทคนิคการระงับปวดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
Kriangkrai ( เกรียงไกร ) 1, Prachanat Promsena (ประชานารถ พรมเสนา) 2, Malinee Wongswadiwat (มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์) 3, Yuwadee Huntula (ยุวดี หันตุลา) 4, Aumjit Wittayapiroj (อุ้มจิต วิทยาไพโรจน์) 5
1. Department of Orthopaedics, Faculty of Medicine, KhonKaen University, Khon Kaen 40002, Thailand, Wittayapairoj,
1. ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 , วิทยาไพโรจน์,
|
หลักการและวัตถุประสงค์ : การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ที่ทำให้เกิดความปวดในระดับรุนแรง การจัดการความปวดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ทำได้ยากและส่งผลเสียหลังผ่าตัดต่อผู้ป่วย ปัจจุบันมีวิธีการหลากหลายในการจัดการความปวดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การศึกษานี้ศึกษาผลการระงับปวดและความปลอดภัยของเทคนิคระงับปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 4 เทคนิคที่ใช้มากที่สุดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาสังเกตการณ์ย้อนหลังเชิงพรรณนาในผู้ป่วย46 ราย ที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบไม่เร่งด่วนและได้รับการระงับความรู้สึกเฉพาะที่ด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม 2558 ข้อมูลที่ศึกษามาจากแบบประเมินความปวดหลังผ่าตัดและแบบบันทึกการระงับความรู้สึก โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มตามเทคนิคระงับปวดที่ได้รับ (กลุ่ม A ได้รับมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำผ่านเครื่อง PCA กลุ่ม B ได้รับมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำผ่านเครื่อง PCA กลุ่ม C ได้รับการฉีดยาบริเวณเนื้อเยื่อรอบเข่าร่วมกับมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำผ่านเครื่อง PCA และกลุ่ม D ได้รับทั้งมอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับการฉีดยาบริเวณเนื้อเยื่อรอบเข่าและมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำผ่านเครื่อง PCA) ผลการระงับปวดประเมินจากปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้ คะแนนความปวดขณะพักและเคลื่อนไหวหลังผ่าตัดวันที่ 1 และ2 ส่วนความปลอดภัยประเมินจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน คัน ง่วงซึม กดการหายใจ พิษจากยาชาเฉพาะที่และชัก
ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยทั้งหมด 46 รายแบ่งเป็นกลุ่ม A, B, C และ D จำนวน 8, 6, 19 และ 13 รายตามลำดับ พบว่าหลังผ่าตัดวันแรกปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้ในกลุ่ม D และความปวดขณะเคลื่อนไหวในกลุ่ม C และ Dน้อยกว่ากลุ่ม Aอย่างมีนัยทางสถิติ (p=0.006 และ p=0.002 ตามลำดับ)อย่างไรก็ตามไม่พบความต่างระหว่างความปวดขณะพักหลังผ่าตัดทั้งสองวัน ความปวดขณะเคลื่อนไหวและปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้หลังผ่าตัดในวันที่สอง อาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นผลข้างเคียงที่พบได้มากในทุกกลุ่มศึกษาส่วนภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้แก่ภาวะกดการหายใจพบเพียงหนึ่งรายในผู้ป่วยกลุ่มDสำหรับความพึงพอใจพบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดโดยในกลุ่ม D มีจำนวนผู้ป่วยที่มีความพึงพอใจมากที่สุดสูงสุด ร้อยละ 84.6
สรุป : จากทั้ง 4 เทคนิคการศึกษา การให้มอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับฉีดยาบริเวณเนื้อเยื่อรอบเข่าและมอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำผ่านเครื่อง PCA เป็นวิธีที่มีประสิทธิผลที่สุดในการระงับปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมวันแรก ส่วนการฉีดยาบริเวณเนื้อเยื่อรอบเข่าร่วมกับการให้มอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำผ่านเครื่อง PCAสามารถลดความปวดขณะเคลื่อนไหวหลังผ่าตัดวันแรกได้
Background and Objectives: Pain after total kneearthroplasty (TKA)is often severe, difficult to manage and leads to poor postoperative outcomes. Presently, there are several methods for controlling pain after TKA. We evaluated the analgesic effect and safety of the four most commonly use dtechniques for controlling pain after TKA in our hospital.
Methods: A retrospective observational descriptive study was conducted in 46 patients who underwent elective TKA under spinal anesthesia and received one of four different methods for controlling postoperative pain between January and December 2015 (group A = received only intravenous morphine PCA, group B = received both intrathecal morphine and intravenous morphine PCA, group C = received both local infiltration analgesia(LIA) and intravenous morphine PCA and group D = received intrathecal morphine, LIA and intravenous morphine PCA).The data were reviewed and collected from pain assessment forms and anesthetic records. Morphine consumption from PCA devices and postoperative numeric rating pain scores(NRS) on day 1 and 2 were recorded and used for assessing the effectiveness of pain relief. Adverse effects such as nausea and vomiting, itching, sedation, respiratory depression, local anesthetic toxicity and seizure were recorded for determining the safety.
Results: Forty-six patients were enrolled in our study, divided into 4 groups A, B, C and D (8, 6, 19 and 13 patients in each group respectively). On postoperative day 1, morphine consumption in group D and the NRSupon movement in group C and D were significantly lower compared with group A (p=0.006and 0.002 respectively). However, the resting NRS on postoperative day 1 and 2, the NRS upon movements and morphine consumption on day 2were not different. The most common adverse effects in all groups were nausea and vomiting. Respiratory depression was the only serious adverse effect which occurred in a patient group D. Most of patients rated the highest satisfaction score, with group D having the highest number of patients (84.6%).
Conclusions: Among the four different methods, combined in trathecal morphine with local infiltration analgesia (LIA) and intravenous morphine PCA was the best method for achieving postoperative day 1 pain control after TKA. The LIA combined with intravenous morphine PCA was also effective, but only for pain upon movement on postoperative day1.
. . .
Full text.
|
|
|
|
|