หลักการและวัตถุประสงค์ : Acute promyelocytic leukemia (APL) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่พบว่ามีเซลล์ชนิด promyelocytes จำนวนมากและไม่มีการเจริญเป็นเม็ดเลือดขาวที่สมบูรณ์ All-trans retinoic acid (ATRA) ร่วมกับยาเคมีบำบัดเป็นการรักษาแบบมาตรฐานของ APL โดยมีอัตราการเกิดโรคสงบร้อยละ 80 ส่วน arsenic trioxide (As2O3) เป็นยาที่สามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการรักษา APL ในรายที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยหรือเกิดซ้ำ การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาด้วยยาทั้งสองสูตรยังมีอยู่อย่างจำกัดซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังโดยรวบรวมผู้ป่วยโรค APL ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยที่โรงพยาบาลขอนแก่นระหว่างเดือนมิถุนายน 2545 ถึงพฤษภาคม 2555 ผู้ป่วยถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามชนิดยาที่ได้รับการรักษาคือ As2O3 หรือ ATRA ร่วมกับ Idarubicin ผลการศึกษาหลักคือ การเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคสงบระหว่างการรักษาด้วยยาทั้งสองกลุ่ม
ผลการศึกษา : ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา มีผู้ป่วยจำนวน 45 รายที่รักษาด้วย ATRA ร่วมกับ Idarubicin และ16 รายที่รักษาด้วย As2O3 อัตราการเกิดโรคสงบในกลุ่ม ATRA ร่วมกับ Idarubicin คือ ร้อยละ 84 (ผู้ป่วยจำนวน 38 ราย) และในกลุ่ม As2O3 คือ ร้อยละ 81 (ผู้ป่วยจำนวน 13 ราย) (p =0.713) ระยะเวลาการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลังโรคสงบในเวลา 2 ปี ในกลุ่มที่ได้รับยา As2O3 และในกลุ่มที่ได้รับยา ATRA ร่วมกับ Idarubicin คิดเป็น 8 เดือนและ 9 เดือน ตามลำดับ (p =0.804) ส่วนระยะเวลาการมีชิวิตรอดหลังโรคสงบโดยติดตามตามการรักษา 3 ปี (3-yr follow-up median overall survival) ในกลุ่มที่ได้รับยา As2O3 และในกลุ่มที่ได้รับยา ATRA ร่วมกับ Idarubicin คิดเป็น 26 และ 27 เดือน ตามลำดับ (p=0.834)
สรุป : As2O3 มีประสิทธิภาพการรักษาไม่แตกต่างจากการรักษาด้วย ATRA ร่วมกับ Idarubicin ในผู้ป่วยโรค APL ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัย
คำสำคัญ : การรักษา มะเร็งเม็ดเลือดขาว การรอดชีวิต การเกิดโรคสงบ
Background and Objective : Acute promyelocytic leukemia (APL) is characterized by hyperproliferation of promyelocytes along with arrest of further maturation. All-trans retinoic acid (ATRA) plus chemotherapy is the standard treatment for APL with more than 80% remission rate. Arsenic trioxide (As2O3) is an alternative treatment for APL in both new and relapsed APL cases. Head to head comparison date between these two treatment regimen are limited. This study aimed to compare the effectiveness of both treatment regimens for APL.
Methods : We conducted a retrospective study of all newly diagnosed APL cases at Khon Kaen Hospital from June 2002 through May 2012. Eligible patients were divided into two groups; ATRA plus Idarubicin or arsenic trioxide. The study was to evaluate whether the complete remission between both groups were not different.
Results : During the study period, there were 45 patients treated with ATRA plus Idarubicin and 16 patients treated with arsenic trioxide. The complete remission rate was 84% (38 patients) in ATRA plus chemotherapy group and 81% (13 patients) in arsenic trioxide group. The two-year disease-free survival (DFS) rate was 71% in the ATRA plus chemotherapy group and 69% in the arsenic trioxide group. The two-year relapse was 9 months in the ATRA plus chemotherapy group and 8 months in the arsenic trioxide group. The overall survival duration was 27 months in the ATRA plus chemotherapy group and 26 months in the arsenic trioxide group after three years of follow-up.
Conclusions : Arsenic trioxide treatment is not different from ATRA plus Idarubicin for newly diagnosed APL in terms of complete remission rate.
Keywords: treatment; leukemia; survival; remission . . .
Full text.
|