Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Effects of Preanesthetic Evaluation with Video Information on Preoperative Anxiety in Patients Undergoing Surgery at Burapha University Hospital

ผลของการประเมินก่อนการระงับความรู้สึกโดยใช้วีดิทัศน์ต่อความกังวลก่อนการผ่าตัดของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

Krittin Kittikornchaichan (กฤติน กิตติกรชัยชาญ) 1, Pattaya Jansagiam (พัทยา จันทร์เสงี่ยม) 2, Narumon Chaichamnanvwet (นฤมล ไชยชำนาญเวทย์) 3, Aekanaj Artthakul (เอกนาจ อาจธนกุล) 4, Nanthana Homsuk (นันทนา หอมสุข) 5, Pattayakorn Gerdsuk (พัทยากร เกิดสุข ) 6




หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดมีความกังวลมาก การสื่อสารเพื่อลดความกังวลมีหลายรูปแบบ ผู้วิจัยต้องการศึกษาผลของการให้ความรู้ก่อนการระงับความรู้สึก (วางยาสลบ) โดยใช้วีดิทัศน์ต่อความกังวลก่อนการผ่าตัด และเปรียบเทียบความกังวลก่อนและหลังการประเมินก่อนการระงับความรู้สึกของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด  

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลอง ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดและระงับความรู้สึกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาจำนวน 203  ราย ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินก่อนการระงับความรู้สึกโดยแผนกวิสัญญี ด้วยการพูดคุย อธิบาย หลังจากนั้นผู้ป่วยจะรับชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับการระงับความรู้สึก โดยจะมีการวัดระดับความกังวลของผู้ป่วยโดยใช้ 100 มิลลิเมตร visual analog scale (VAS) ผู้ป่วยจะให้คะแนนความกังวลทั้งหมด 4 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 1 ก่อนการประเมินก่อนการระงับความรู้สึกโดยการพูดคุยกับแผนกวิสัญญี (VAS ก่อนพูดคุย)

ครั้งที่ 2 หลังจากพูดคุยกับแผนกวิสัญญีเสร็จแล้ว (VAS หลังพูดคุย)

ครั้งที่ 3 หลังจากรับชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับการระงับความรู้สึก (VAS หลังดูวีดิทัศน์)

ครั้งที่ 4 ในวันผ่าตัด ในช่วงที่ผู้ป่วยรอเข้าห้องผ่าตัด (VAS ก่อนผ่าตัด)

ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่า ในช่วงการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก เมื่อได้รับความรู้เกี่ยวกับการระงับความรู้สึกจากทีมวิสัญญีแล้ว พบว่า ผู้ป่วยมีระดับความกังวล(VASหลังพูดคุย) ลดลงอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย =31.63, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 28.53) และลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับระดับความกังวลก่อนการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก (VAS ก่อนพูดคุย) (ค่าเฉลี่ย = 37.54, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 31.45) ( p<0.01) หลังจากได้รับชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับการระงับความรู้สึก พบว่า ผู้ป่วยมีระดับความกังวล (VAS หลังดูวีดิทัศน์) ลดลงอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย=28.57, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 28.10) และลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับระดับความกังวลทั้งในช่วงก่อนการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก (VAS ก่อนพูดคุย) และระดับความกังวลหลังพูดคุย (VAS หลังพูดคุย) ( p<0.01) ในวันผ่าตัด ผู้ป่วยมีความกังวลก่อนการผ่าตัด (VAS ก่อนผ่าตัด) เพิ่มมากขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย =39.01, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 31.42) เมื่อเปรียบเทียบกับระดับความกังวลก่อนการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก (VAS ก่อนพูดคุย) พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

สรุป: การประเมินก่อนการระงับความรู้สึกโดยใช้วีดิทัศน์ร่วมด้วยสามารถลดความกังวลในช่วงการประเมินก่อนการระงับความรู้สึกในทั้งสองช่วงทั้งในช่วงหลังจากพูดคุยกับแผนกวิสัญญีและหลังจากดูวีดิทัศน์ แต่ไม่สามารถช่วยลดความกังวลก่อนการผ่าตัดได้

 

Background and Objective: Prior to the operations, it had been known that waiting patients had a high level of anxiety. Patients had been provided with a plurality of doctor-patient communication in order to lessen their anxiety. In this regard, the objective of this study thus is twofold: first, to investigate the effects of preanesthetic evaluation with the video use on preoperative anxiety. Second, to compare the anxiety before and after this type of preanesthetic evaluation.

Methods:  In this experimental research, there were 203 patient participants who underwent surgery and anesthesia at Burapha University Hospital.  The anesthesia team performed preanesthetic evaluation on patients. The team talked and provided them with explanations. Then, the team had patients to watch video information about anesthesia. Their anxiety was measured by employing the 100 mm of Visual Analog Scale (VAS). The VAS scores of individual patients were measured and collected throughout all periods of measurement, accordingly. In this study, patients were told to rate their anxiety level for four periods: first, VAS was measured prior to preanesthetic evaluation (VAS before talk). Second,VAS was then collected  after preanesthetic evaluation (VAS after talk).Third, it was after watching a video about the anesthesia in which VAS score was performed after a video session (VAS after video session). Fourth, it was on the day of surgery in which preoperative anxiety level was recorded before the surgery (VAS before surgery).

Results: According to the study, it was found that VAS after talk became low after patients talked to the preanesthetic evaluation team (mean = 31.63; SD = 28.53). This was also significantly low in a comparison to VAS before talk (mean = 37.54; SD = 31.45; p< 0.01). Regarding VAS after video session, it was also low (mean = 28.57; SD = 28.10). And, this anxiety decreased significantly when compared to VAS before talk and VAS after talk (p< 0.01). On the operation day, it was found that VAS before surgery grew (mean = 39.01; SD = 31.42). Nevertheless, it was normally low. Comparing the anxiety level, the VAS before talk was not significantly different from VAS before surgery.

Conclusion: To sum up, the use of preanesthetic evaluation jointly used with video information by the anesthetic team yielded the results that it could conceivably decrease the anxiety level in two preanesthetic periods, which were after talking to anesthesia team and after watching a video. However, this integrated use was firmly unable to significantly lower the preoperative anxiety among patients.

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0