Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Evaluation for Biliary Atresia: Analysis of Hepatobiliary Scintigraphy in Srinagarind hospital from 2005-2014

การประเมินภาวะท่อน้ำดีอุดตันในทารก: ผลวิเคราะห์จากการตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ในช่วงปี พ.ศ. 2548

Daris Theerakulpisut (ดริส ธีระกุลพิศุทธิ์) 1, Nantaporn Wongsurawat (นันทพร วงศ์สุรวัฒน์) 2, Charoonsak Somboonporn (จรูญศักดิ์ สมบูรณ์พร) 3




หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะท่อน้ำดีอุดตันในทารก (biliary atresia: BA) เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่ร้ายแรงที่จำเป็นต้องให้การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี (hepatobiliary scintigraphy: HBS) เป็นการตรวจลำดับแรกๆในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อประเมินว่ามีผู้ป่วยเป็นสัดส่วนเท่าใดที่ได้รับการตรวจ HBS ที่อายุเกิน 60 วัน และประเมินปัจจัยเกี่ยวกับระยะทางว่ามีผลต่อความล่าช้าในการได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือไม่ และวิเคราะห์ผลจากการตรวจ HBS การทำงานของตับ และประโยชน์ของการถ่ายภาพที่ 24 ชั่วโมง

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากการตรวจ HBS ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง 2557 ทำการประมาณระยะทางระหว่างบ้านและโรงพยาบาล ประเมินว่ามีสารเภสัชรังสีออกมาในลำไส้หรือไม่ และประเมินการทำงานของตับจากลักษะของภาพสแกนโดยให้คะแนนแบบกึ่งเชิงปริมาณ

ผลการศึกษา: จากทารก 491 มีร้อยละ 64 ได้รับการตรวจ HBS ที่อายุเกิน 60 วัน (มัธยฐาน 71 วัน) ความล่าช้าในการได้รับการตรวจนี้คงที่ตลอด 10 ปี ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างระยะห่างจากโรงพยาบาลและอายุที่ได้รับการตรวจ (r = 0.0784) แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองขอนแก่นมีแนวโน้มที่จะได้รับการตรวจเร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้อยู่ในเขตนี้แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ (มัธยฐาน 64 วัน เทียบกับ 71 วัน, p=0.09) การตรวจเพิ่มที่ 24 ชั่วโมงมีประโยชน์น้อย โดยมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 0.86 เท่านั้นที่พบว่ามีสารเภสัชรังสีออกมาในลำไส้ที่ 24 ชั่วโมง

สรุป: ทารกที่สงสัยว่าเป็น BA ที่ได้รับการตรวจ HBS ล่าช้ามีสัดส่วนที่สูงตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างระยะห่างจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์กับอายุที่ได้รับการตรวจ ควรมีการศึกษาไปข้างหน้าเพื่อประเมินหาปัจจัยที่ทำให้การตรวจล่าช้าเพื่อปรับปรุงนโยบายและระบบการส่งต่อผู้ป่วย

 

Background and Objectives: Biliary atresia (BA) is a serious congenital condition that needs prompt diagnosis and treatment. Hepatobiliary scintigraphy (HBS) is often used as the initial imaging test for diagnosis. This study aims to determine the proportion of patients receiving HBS later than 60 days of age, assess relationship between distance from hospital and age at HBS, describe HBS findings regarding positivity of scans, degree of liver function and value of 24-hour imaging.

Methods: Information of HBS during 2005-2014 was collected. Distance from hospital was estimated. Presence of intestinal activity was visually determined. Liver function was semi-quantitatively scored.

Results: From 491 infants, 64% was examined when older than 60 days of age (median 71 days). This delay has remained stable during the past decade. No correlation was found between distance from hospital and age at HBS (r = 0.0784). There was a trend that patients living in the same district as our center would be evaluated earlier (median 64 vs. 71 days, p=0.09). The 24-hour image had minimal value with only 0.86% revealing intestinal radiotracer activity which the initial first-day image did not.

Conclusion: Proportion of infants suspected of BA receiving delayed evaluation has remained consistently high over the past decade. No relationship between distance from tertiary care center and age at HBS was found. Additional prospective studies should be done to assess for factors that delay access to medical care and guide health policy.

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0