หลักการและวัตถุประสงค์: ตามข้อกำหนดแพทยสภา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 นิสิตแพทย์ทุกคนต้องผ่านการสอบใบอนุญาตทางการแพทย์เพื่อจะจบเป็นแพทย์ โดยการสอบมี 3 ระดับระดับที่ 1 เรียกว่า วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานจะสอบเมื่อนิสิตแพทย์เรียบจบชั้นปีที่ 3, ระดับที่ 2 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางวิทยาศาสตร์คลินิกซึ่งจะสอบเมื่อนิสิตแพทย์เรียบจบชั้นปีที่ 5และระดับที่ 3 เป็นการสอบเพื่อประเมินทักษะทางคลินิกซึ่งจะสอบเมื่อนิสิตแพทย์เรียบจบชั้นปีที่ 6 การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ผลการสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ระดับที่ 1โดยมีสมมติฐานว่าปัจจัยพื้นฐานและผลการศึกษาของนิสิตแพทย์น่าจะสามารถพยากรณ์ผลการสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ระดับที่ 1 ได้ วิธีการ: การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกของปัจจัยพื้นฐาน (อายุ เพศ ภูมิลำเนา) และผลการศึกษา (เกรดเฉลี่ยระดับมัธยมปลาย คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยสารคามและเกรดเฉลี่ยของการเรียนแพทย์ชั้นก่อนคลินิก) กับผลการสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ระดับที่ 1 ครั้งแรกของนิสิตแพทย์มหาสารคามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2558 จำนวน 340 ราย ผลการศึกษา: นิสิตแพทย์มหาสารคามทั้งหมดจำนวน 340 ราย อายุเฉลี่ย 22 ปี (21-24 ปี) เป็นเพศหญิงร้อยละ62.9 พบว่านิสิตแพทย์จำนวน 229 ราย (ร้อยละ 67.4) สอบใบอนุญาตทางการแพทย์ระดับที่ 1 ครั้งแรกผ่าน จากการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพบว่าเกรดเฉลี่ยของการเรียนแพทย์ชั้นปีที่ 1- 3 เป็นปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ผลการสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ระดับที่ 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยหากเกรดเฉลี่ยของการเรียนแพทย์ชั้นปีที่ 1- 3 เพิ่มขึ้น 1 คะแนน โอกาสสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ระดับที่ 1 ครั้งแรกผ่านเพิ่มขึ้น 1.3, 12.7 และ17.6 เท่าตามลำดับ ส่วนปัจจัยพื้นฐาน, เกรดเฉลี่ยระดับมัธยมปลายและคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นไม่สามารถพยากรณ์ผลการสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ระดับที่ 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญ สรุป: นิสิตแพทย์ที่มีเกรดเฉลี่ยของการเรียนแพทย์ชั้นปีที่ 1- 3 ต่ำมีความเสี่ยงที่จะสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ระดับที่ 1 ในครั้งแรกไม่ผ่าน คำสำคัญ: พยากรณ์, ผลสำเร็จ, การสอบใบอนุญาตทางการแพทย์ระดับที่ 1 Background and Objective : According to the Thai Medical Council requires that all Thai medical students who matriculated as of academic year 2003 must pass the Medical Licensing Examination. There are three steps for the examination. The Step 1 examination, called comprehensive basic medical science, would be held at the end of their third academic year. The Step 2 examination, tested the knowledge on clinical science, would be held at the end of their fifth academic year. The Step 3 examination, tested the clinical skill, would be held at the end of their sixth academic year. This study aims to assess factors that predict students performance in the Medical Licensing Examination of Thailand (MLET) Step1 examination. The hypothesis was that demographic factors and academic records would predict the students performance in the Step1 Licensing Examination. Methods: A logistic regression analysis of demographic factors (age, sex and residence) and academic records [high school grade point average (GPA), Mahasarakham University Entrance Examination score and GPAs of the pre-clinical years] with the MLET Step1 outcome was accomplished using the data of 340 Mahasarakham medical students who had first attempt for the MLET Step1 since 2006 to 2015. Results: Of 340 Mahasarakham medical students [mean (range) age, 22 (21-24) years; 62.9% were females, 229(67.4%) passed the MLET Step1 examination. Stepwise logistic regression analysis showed that the significant predictors of MLET Step 1 success/failure were GPAs of the preclinical years. For students whose first, second and third-year GPAs increased by an average of1 point, the odds of passing the MLET Step1 examination increased by a factor of 1.3, 12.7 and 17.6, respectively. All demographic factors, high school GPA and the University Entrance Examination score were not the significant predictors of MLET Step1 success/failure. Conclusions: Students with low-grade point averages in their first, second and third preclinical years of medical school are at risk of failing the MLET Step 1 examination. Key words: Prediction, success, MLET step1 . . .
Full text.
|