หลักการและวัตถุประสงค์: โรคในช่องปากที่พบมากและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญสองอันดับแรกในเด็กประถมศึกษา ได้แก่ โรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการควบคุมการบริโภคอาหารและการแปรงฟัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนของการแปรงฟันและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดหนองบัวลำภู
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการสำรวจภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 711 ราย ถูกสุ่มแบบสองขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในระหว่างเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์และการถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างแปรงฟันที่โรงเรียนเพียงร้อยละ 49.2 (95% CI:1.58-1.68) เด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่(AOR=0.664, 95% CI: 0.45-0.97) และเด็กนักเรียนที่มีอุปกรณ์ทำความสะอาดฟัน (AOR= 2.611, 95% CI: 1.79-3.79) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p ≤ 0.05
สรุป: การแปรงฟันหลังอาหารกลางที่โรงเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ยังอยู่ในระดับต่ำ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรหาแนวทางในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษา
คำสำคัญ: การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน, นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, หนองบัวลำภู
Background and objective: The most oral health disease which be public health problem in first and second order are dental caries and gingivitis which could be prevent by consumption controlling and tooth brushing. Aim of study was to explore proportion of tooth brushing after lunch and associated factors in elementary students in NongBua LamPhu Province.
Methods: This study was cross sectional survey. 711 samples were recruited by two stage sampling. Self administered questionnaire was used to gather data during January-February 2015. Descriptive statistics, chi square multiple logistic regressions were employed in data analysis.
Results: It is emerged that only 49.2% of the samples brushed the teeth after lunch at school. Factors associated with tooth brushing after lunch at school statistically significant were living with parent (AOR= 0.664, 95% CI: 0.45-0.97) and well equipped. (AOR=2.611, 95% CI: 1.79-3.79)
Conclusions: Tooth brushing among elementary students was low. Participant should be find oral health promotion.
Keywords: Tooth brushing after lunch, Upper elementary student, Nong Bua LamPhu Province
. . .
Full text.
|