หลักการและวัตถุประสงค์ : จังหวัดที่อยู่ใกล้ชอบชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ มีรายงานผู้ป่วยที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อยู่ในช่วง 3.13- 6.26 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขระดับปานกลางที่ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ดังนั้นผู้วิจัยต้องการที่จะสำรวจความรู้ด้านสุขภาพของเกษตรกรที่เพาะปลูกผักสวนครัวและมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเขตพื้นที่อีสานใต้ 3 จังหวัด
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research) พื้นที่ศึกษาประกอบด้วยดังนี้ 1. บ้านคำน้ำแซบ จ.อุบลราชธานี 2.บ้านหนองมุก จ.อุบลราชธานี 3. บ้านจานลาน จ.อำนาจเจริญ และ 4. บ้านโพนเมือง จ.ศรีสะเกษ ผู้วิจัยเป็นผู้ถามคำถามและเกษตรกรเป็นผู้ตอบคำถาม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ไปวิเคราะห์ทางสถิติ เช่น จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวในขณะทำงานและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแต่ละพื้นที่ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way-ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยสถิติ Bonferroni
ผลการศึกษา : มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 42 ราย มีอายุเฉลี่ยในแต่ละพื้นที่ มากกว่า 44 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลาประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุดคือ 6-10 ปี นอกจากนั้น พบว่าเกษตรกรใช้สารเคมีจะอยู่ในบริเวณที่ฉีดพ่นหรือสัมผัสผัก ผลไม้ที่ฉีดพ่น เช่น เก็บเกี่ยว มากที่สุด (ร้อยละ 90) เกษตรกรทุกคนมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น หน้ากากผ้า ถุงมือยาง (ร้อยละ 75) เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้การฝังและเผาในการกำจัดภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรส่วนใหญ่มีการรับรู้ในระดับ ดีมาก (2.9 ± 0.2) ทุกพื้นที่ส่วนใหญ่ มีระดับความเสี่ยงของสุขภาพ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวในขณะทำงานและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของจังหวัดอำนาจเจริญแตกต่างจากจังหวัดอุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป : เกษตรกรมีการรับรู้ถึงพิษภัยของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างไรก็ตาม ระดับความเสี่ยงสุขภาพของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลางถือว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกิดจากขั้นตอนการฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องเร่งสร้างความตระหนัก ปลุกจิตสำนึกและสนับสนุนทั้งงบประมาณ บุคลากร เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ
Background and Objectives : There are three neighboring provinces located near the borderline including Ubon Ratchathani, Sri-Sa-Ket, and Umnachareon. They have been reported numbers of patients exposed to insect pesticides between 3.13 and 6.26 per 100,000 population interpreted as moderate numbers that need to be monitored closely. Therefore, researchers aim to survey farmers health knowledge in growing gardening vegetables and using insect pesticides in three north-eastern provinces, Thailand.
Methods : It is a survey research. Risk areas included, Kum-Num-Sap (Ubon Ratchathani), Nong-Mook (Ubon Ratchathani), Cha-lan (Umnartchareon), and Phon-Muang (Sri-Sa-Ket) villages. The researchers went through the questionnaire items and the farmers gave the answers. Then, all data were evaluated via descriptive statistics (e.g., frequency, percentage, mean, SD). For mean score comparisons of self practice and preventing behavior from insect pesticides in each area, have been analyzed via One way-ANOVA and Bonferroni.
Results : Totally, there were 42 farmers enrolled in this study. An average age of the villagers in each area was more than 44 years of age, graduated from primary schools. They have been farmers between 6 and 10 years. Also, most farmers exposed to insect pesticides mainly during harvesting process (90%). Noticeably, most farmers used self-protecting equipments during spraying insect pesticides (75%). Burning and landfilling are the most common destroying methods of insect pesticide containers. While the farmers were having very good perception regarding insect pesticide preventing behaviors ( = 2.9 ± S.D. 0.2), they seemed to have moderate risk of their health issues. Mean scores related to self practice and preventing behavior from insect pesticides of Umnartchareon were significantly different from Ubon Ratchathani farmers (p =0.011, 0.019, consecutively)
Conclusion : The farmers had very good perception related to insect pesticide preventing behaviors. Nevertheless, they were in moderate health risk. It meant the farmers still have a risky chance to expose to insect pesticides during spraying process. Thai government urgently needs to create awareness, budget and manpower supports to prevent dangers of insect pesticide usage of the farmers effectively.
. . .
Full text.
|