หลักการและวัตถุประสงค์: จากการสำรวจในประเทศไทย พบอุบัติการณ์การติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ปัญหาการปฏิบัติตัว และปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งอาจมีผลต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้ในการดูแลตัวเองและวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในการดูแลตัวเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ณ หน่วยล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ จำนวน 106 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้ในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง และแบบวัดคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคไตเรื้อรังฉบับภาษาไทย (CHOICE Health Experience Questionnaire)
ผลการศึกษา: คะแนนความรู้ในการดูแลตัวเองโดยรวมของผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 88.44 ± 13.19 ซึ่งอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้รายด้าน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนหรือวิธีการล้างไตทางช่องท้อง ความรู้เรื่องยา ความรู้เรื่องอาหารและการปฏิบัติตัว และความรู้เรื่องการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์พบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 89.46 ± 12.13, 82.23 ± 12.30, 92.45 ± 5.57 และ 88.68 ± 22.64 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับดี ส่วนคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 76.25 ± 11.15 ซึ่งอยู่ในระดับดี และพบว่าความรู้ในการดูแลตัวเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกหรือแปรผันตามกันกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.164; p = 0.046)
สรุป: ความรู้ในการดูแลตัวเองและคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับดี และพบว่าความรู้ในการดูแลตัวเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วย
Background and Objectives: A nationwide survey in Thailand indicated the incidence of peritoneal dialysis-related infection. Inappropriate protein intake, self-care behavioral and medication problems were regularly found in chronic end-stage renal disease patients. These may affect self-care problems. This study aimed to determine self-care knowledge and quality of life in chronic end-stage renal disease patients with continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) and to identify the correlation between self-care knowledge and quality of life.
Methods: A cross-sectional descriptive study was performed in 106 patients who underwent CAPD for at least 1 month at the Renal Unit of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center hospital. Self-care knowledge and quality of life were measured by the self-care knowledge questionnaire for CAPD patients and the Thai version of CHOICE Health Experience Questionnaire, respectively.
Results: The overall self-care knowledge was a high level score with the mean score of 88.44 ± 13.19 and the high level of the following domains; step and method of CAPD, medication, nutrition and behavior and abnormal symptoms with the mean of 89.46 ± 12.13, 82.23 ± 12.30, 92.45 ± 5.57 and 88.68 ± 22.64, respectively. The overall quality of life was a high level with the mean score of 76.25 ± 11.15. The self-care knowledge had a significantly positive correlation with quality of life (r = 0.164; p-value 0.046). Conclusion : The self-care knowledge and the quality of life in CAPD patients were at the high level and with a significantly positive correlation.
. . .
Full text.
|