Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Evaluation of Practice Guideline for Pneumothorax, Hydrothorax or Hemothorax in Patients Undergoing Percutaneous Nephrolithotomy in Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province

การประเมินแนวปฏิบัติสำหรับภาวะ pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไต ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Wilawan Somdee (วิลาวัลย์ สมดี) 1, Thepakorn Sathitkarnmanee (เทพกร สาธิตการมณี) 2, Sirirat Tribuddharat (สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์) 3, Kajit Pachirat (ขจิตร์ พาชีรัตน์) 4, Khochakorn Palachewa (กชกร พลาชีวะ) 5, Suthannee Simajareuk (สุธันนี สิมะจารึก) 6, Winita Jeerararuensak (วินิตา จีราระรื่นศักดิ์) 7, Viriya Thincheelong (วิริยา ถิ่นชีลอง) 8, Rachnee Chanawongse (รัชนีย์ ชนะวงศ์) 9




หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไต (percutaneous nephrolithotomy: PCNL) กำลังเป็นที่นิยมเพราะแผลผ่าตัดเล็ก ผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็ว แต่มีโอกาสเกิดภาวะ pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้  ภาควิชาวิสัญญีวิทยาได้จัดทำและประกาศใช้แนวทางการเฝ้าระวังอุบัติการณ์ pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ในผู้ป่วยที่ทำผ่าตัด PCNL ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์แนวทางฯ ในการป้องกัน วินิจฉัย และให้การรักษาภาวะดังกล่าว เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษางานวิจัยเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีในห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้นและหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เก็บข้อมูลผู้ป่วยทุกรายตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.. 2555 ถึงเดือนกันยายน พ.. 2556 หลังจากการนำเอาแนวทางปฏิบัติที่ใช้ปฏิบัติจริง เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงและอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น มาวิเคราะห์ทางสถิติ รายงานเป็นร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด 66 รายและมีอุบัติการณ์เกิด pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax 11 รายคิดเป็นร้อยละ 16.7  พบในเพศหญิงมากกว่าชาย ในช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป พบอุบัติการณ์ในกลุ่มที่จุดแทง trocar อยู่เหนือช่องซี่โครงที่ 12th (supracostal access)    ส่วนใหญ่เกิด hydrothorax ร้อยละ 81.8   และมีระดับความรุนแรงเพียงเกิดอาการเล็กน้อยคือ 8 รายจาก 11 รายและเกิดอาการรุนแรงต้องใส่ intercostal drainage จำนวน 3 ราย  นอกจากนี้มีผู้ป่วย 1 รายมีอาการเล็กน้อยแต่ไม่ได้รับการปฏิบัติตามแนวทางการรักษาทำให้ต้องกลับมาใส่ท่อช่วยหายใจอีกครั้งขณะอยู่ในห้องพักฟื้น

สรุป: การศึกษาพบว่าการปฏิบัติตามแนวทางการเฝ้าระวังอุบัติการณ์ pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ในผู้ป่วยที่ทำผ่าตัด PCNL สามารถช่วยให้การวินิจฉัยและรักษาทำได้อย่างรวดเร็ว พบการแทง trocar ที่ supracostal เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติการณ์แต่ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และมีบุคลากรบางส่วนที่ดูแลผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามแนวทางการรักษา  ภาควิชาฯ จึงควรกำหนดให้บุคคลากรทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

 

Background and objective: Percutaneous nephrolithotomy (PCNL) is gaining popularity because of its advantages i.e., smaller wounds, less pain and shorter hospital stay, nevertheless, pneumothorax, hydrothorax or hemothorax cannot be avoided.  Our department developed and promulgated a practice guideline (CPG) for prevention and management of these conditions in May 2012.  The objective of our study is to evaluate this CPG for its effectiveness and use the information to improve the CPG for continuous quality improvement.

Methods: This is a prospective, descriptive study.  We recruited all cases of PCNL performed after implementation of the CPG between October 2012 and September 2013 in Srinagarind hospital.

Results:  There were 66 cases of PCNL with 11 cases of pneumothorax, hydrothorax or hemothorax.  The incidence is 16.7%.  Most of the cases were females, aged more than 15 years, and with supracostal access.  Hydrothorax was 81.8% of the incidents.  Eight cases had mild symptom while the other three cases need intercostals drainage.  There was one case which the anesthetic personnel did not comply with the CPG and this patient was reintubated during PACU admission.

Conclusions: The CPG facilitates the diagnosis and treatment of pneumothorax, hydrothorax or hemothorax in patients undergoing PCNL. Supracostal access is the contributing factor.   Most of the cases had mild symptoms.  Since some personnel did not comply with the CPG, reinforcement is needed.

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0