หลักการและวัตถุประสงค์: การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน เป็นเทคนิคหนึ่งที่ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตค่อนข้างคงที่ ระงับความปวดหลังผ่าตัดได้ดี รวมถึงหลีกเลี่ยงการใส่ท่อช่วยหายใจ การระงับความรู้สึกด้วยเทคนิคนี้ต้องอาศัยการฝึกทักษะเป็นอย่างดี จึงจำเป็นต้องบรรจุเข้าในหลักสูตรการฝึกอบรมวิสัญญีแพทย์อย่างจริงจัง ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการฝึกทักษะการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนใหม่ โดยการจัดการหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้ต้องการประเมินการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ถึงปริมาณหัตถการที่ได้รับการฝึกทักษะในปีแรกของการเปลี่ยนแปลง
วิธีการศึกษา: การจัดรูปแบบใหม่ของการหมุนเวียนกลุ่มแพทย์ประจำบ้านวิสัญญี สำหรับการฝึกทักษะการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนเริ่มขึ้นในปีการศึกษา 2556 โดยมีแพทย์ประจำบ้านวิสัญญีชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 จำนวน 5 ราย และ 7 ราย ตามลำดับ การหมุนเวียนจะแบ่งออกเป็นครั้งละ 1 ราย รายละ 2 สัปดาห์ในชั้นปีที่ 2 และอีก 2 สัปดาห์ในชั้นปีที่ 3 เมื่อแพทย์หมุนเวียนมาเข้ารับการฝึกทักษะการให้การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน จะมีกิจกรรมต่างๆดังนี้ ทบทวนความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์เฉพาะส่วน การฝึกทักษะการใช้เครื่องอัลตราซาวน์และเครื่องกระตุ้นกระแสประสาทด้วยไฟฟ้า ศึกษาเทคนิคการทำจากสื่อเผยแพร่ต่างๆ อ่านวารสารการแพทย์เกี่ยวกับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน และทบทวนเทคนิคกับอาจารย์ผู้ควบคุม การทำหัตถการจะทำในห้องพักฟื้นภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ และบันทึกปริมาณหัตถการต่างๆ ในสมุดบันทึก
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของปริมาณหัตถการที่ได้รับการฝึกจำนวน 12 หัตถการใน 2 สัปดาห์ อัตราความสำเร็จอยู่ระหว่างร้อยละ 85-100 พบว่าได้ฝึกหัตถการการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนล่างของร่างกาย(ร้อยละ 55) มากกว่าส่วนบน (ร้อยละ 45) Femoral และ sciatic nerve block เป็นหัตถการที่ได้ทำมากที่สุดในการระงับความรู้สึกส่วนล่าง (ร้อยละ 34.2) และ axillary nerve block เป็นหัตถการที่ได้ทำมากที่สุดในการระงับความรู้สึกส่วนบน (ร้อยละ 33.3)
สรุป: การจัดรูปแบบใหม่ของการหมุนเวียนกลุ่มแพทย์ประจำบ้านวิสัญญี สำหรับการฝึกทักษะการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนสามารถเพิ่มจำนวนประสบการณ์ และอัตราความสำเร็จในการทำหัตถการ
Background and Objective: Peripheral nerve blocks (PNB) are one of the anesthesia and analgesia techniques that provide stable hemodynamic, prolong analgesia and also avoid airway instrumentation. Proper training of peripheral nerve block skills is required for our anesthesia residency training curriculum. There are variety of teaching model for increase exposure and skill in peripheral nerve block. Our model is two weeks at a time for the second and third year residency training program. We would like to evaluate our first year of new teaching model.
Methods: The new model has been employed since the year 2013. Five residents of the second and seven residents of the third year in our anesthesia residency training program were all enrolled. Peripheral nerve block rotation was arranged 2 weeks at a time in the second and the third year resident. The education consisted of basic anatomy, ultrasound guidance, workshop, multimedia, journal and review PNB technique during the rotation. PNBs were performed in postoperative care unit under the supervision of staff anesthesiologists. All PNBs were done under nerve stimulator and ultrasound guidance. Cases that have been done were recorded in logbook; number of patients, techniques, success rate was collected.
Results: The mean number of procedures were 12 PNBs during the two weeks of rotation. The success rate ranges between 87.5% - 100%. We found that nerve block for lower extremity procedures have been performed more than upper extremity (55% versus 45%). Femoral and sciatic nerve block were the most number of lower extremity block (34.2%) and axillary nerve block was the most number of upper extremity block (33.3%).
Conclusions: The new model of PNB rotation can increase the exposure and success rate of peripheral nerve block.
. . .
Full text.
|