หลักการและวัตถุประสงค์ : ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา คลินิกให้บริการเลิกบุหรี่ที่มีชื่อว่า คลินิกฟ้าใส ได้เปิดให้บริการกับผู้รับบริการในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งผู้มารับบริการส่วนใหญ่เป็นบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยทั่วไปการติดตามผลการบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่ จะใช้ระยะเวลาในการติดตาม 6 เดือน วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ การประเมินพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้รับบริการเมื่อครบระยะเวลา 6 เดือนจากเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2556
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น 53 ราย ที่สามารถติดตามการบำบัดครบตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดกรองเพื่อเลิกบุหรี่ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป (11 ข้อ), ประวัติการสูบบุหรี่ (6 ข้อ), และวิธีการบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่ (34 ข้อ) ผู้รับบริการแต่ละรายได้รับวิธีการบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่ตามข้อมูล ประวัติการสูบบุหรี่ ระยะเวลาการติดตามหลังได้รับการบำบัดคือ เดือนที่ 0, 3, และ 6 ข้อมูลที่ได้จะถูกวิเคราะห์ทางสถิติทั้งเชิงพรรณนา (เช่น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และร้อยละ) และเชิงอนุมาน (เช่น ไค-สแควร์)
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41- 59 ปี (ร้อยละ 41.50) ดื่มสุราเป็นบางครั้ง (ร้อยละ 5.90) มีผู้ที่สูบบุหรี่ในปัจจุบัน จำนวน 53 ราย (ร้อยละ 100) ส่วนใหญ่สูบน้อยกว่า 5 ปี (ร้อยละ 29.60) สูบวันละ 1-10 มวน (ร้อยละ 74) นอกจากนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมที่จะเลิก ร้อยละ 77.4 ซึ่งมีภาวะการติดนิโคตินในระดับน้อย (ร้อยละ 56.6), ได้รับการบำบัดด้วยยา ร้อยละ 58.3 ซึ่งยาที่ใช้คือ น้ำยาบ้วนปาก 0.5 % โซเดียมไนเตรต (ร้อยละ 26.4) หลังจากครบกำหนด 6 เดือน พบว่ามีผู้รับบริการที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ 13 ราย (ร้อยละ 24.52) ที่น่าสังเกตคือ ปัจจัยเกี่ยวกับการสูบบุหรี่หลังตื่นนอน, ระดับความพร้อมที่จะเลิกบุหรี่, และวิธีการบำบัด มีผลต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.002, <.001, <.001 ตามลำดับ)
สรุป : คลินิกให้บริการเลิกบุหรี่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดให้บริการคำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 53 ราย ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่สำเร็จมีเพียงร้อยละ 24.52 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ประกอบด้วย การสูบบุหรี่หลังตื่นนอน, ระดับความพร้อมที่จะเลิกบุหรี่, และวิธีการบำบัด ข้อมูลทั้งหมดจะนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนรูปแบบการบำบัดผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ต่อไป
Background and objectives: Since February 2013, a cessation clinic called Pharsai Clinic has been opened for the clients living closed to Ubon Ratchathani University (UBU). The clinic serves mostly UBU staff and students seeking to quit smoking. The duration criteria to monitor the smoking cessation are 6-months. The study aims to evaluate quit smoking behavior of the smokers who completely underwent 6-month cessation period from February to July 2013.
Methods: It is a cross-sectional descriptive study. Totally there were 53 participants qualified into the study. They underwent a screening test for smoking cessation. A questionnaire paper was used to collect client data including, demographic information (11 items), history of cigarette smoking (6 items), and smoking cessation strategies (34 items). Each participant received an individual cessation strategy based on his background information. The quit program was divided into 3 hospital visits; 0, 3, 6-month periods. All data was analyzed via both descriptive (e.g., Mean S.D, frequency, percentage) and analytical (e.g., Chi-square test) statistics.
Results: All 53 participants were males, aged between 41 and 59 yearly (41.50%), occasionally drink alcohol (50.90%). The current smokers were 100%, had a history of smoking less than 5 years (29.60%), smoked 1 to 10 rolls of cigarettes per day (74%), were ready to quit (77.4%), mildly addicted (56.6%), received drug therapy for cessation (58.3%), mostly were mouthwashes (26.4%). After the completion of 6-month periods, only 13 smokers were able to quit smoking (48.14 %). Noticeably, only three factors including, the first smoking after waking up, levels of readiness to quit smoking, and cessation strategies were statistically significantly related to quit smoking behavior (p =.002, <0.001, <.001, consecutively)
Conclusion: The Cessation Clinic at Ubon Ratchathani University has been opened for smoking cessation counseling service. Only 53 participants enrolled into the program. The successful quitters were 24.52%. The factors including, first smoking after waking up, levels of readiness to quit smoking, and cessation strategies were related to quit smoking behavior. All data would be applied for a further cessation strategy development.
. . .
Full text.
|