หลักการและวัตถุประสงค์: ในปัจจุบันมีผู้ป่วยมาที่ห้องฉุกเฉินจำนวนเพิ่มขึ้นมาก และต้องได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจโดยแพทย์จากทุกสาขา ทางคณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ว่ามีอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจมากน้อยเพียงใด มีภาวะใดบ้างเพื่อวางแผนจัดการและพัฒนาแนวทางเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นต่อไป
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลแบบไปข้างหน้าโดยศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจโดยแพทย์ที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2553 ถึง 30 พฤศจิกายน 2554 โดยแบบบันทึกลักษณะข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ข้อมูลแพทย์ และแบบบันทึกข้อมูลภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการใส่ท่อช่วยหายใจมาใช้คำนวณหาความสัมพันธ์ทางสถิติ
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 192 ราย ที่เข้าร่วมในการศึกษานี้ แพทย์ที่ใส่ท่อช่วยหายใจมากที่สุด ได้แก่ อายุรแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาอายุรศาสตร์ ร้อยละ 42.2 ส่วนวิสัญญีแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาวิสัญญีวิทยานั้นมีเพียง ร้อยละ 4.7 อุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจมีจำนวนทั้งสิ้น 73 ราย (ร้อยละ 38) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด คือ บาดเจ็บของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน 26 ราย (ร้อยละ 13.5) ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจเกิดจากวิสัญญีแพทย์และแพทย์ผู้ฝึกอบรมภาควิชาวิสัญญีวิทยามากที่สุด (ร้อยละ 88) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วย chi-square test at alpha = 0.05 และ Fishers exact test between group ( significant = p < 0.05) แล้วพบว่าการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยแพทย์จากแต่ละภาควิชากับการเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ถ้าหากนำผลรวมการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยแพทย์จากทุกภาควิชากับการเกิดภาวะแทรกซ้อนมาวิเคราะห์กลับพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% Confidence Interval = 38(31-45), p=0.03)
สรุป: การใส่ท่อช่วยหายใจที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 38 ภาวะแทรกซ้อนพบมากที่สุดได้แก่ การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน รองลงมา ได้แก่ ใส่ท่อช่วยหายใจยาก และใส่ท่อลงกระเพาะอาหาร แพทย์ที่ใส่ท่อช่วยหายใจมากที่สุด ได้แก่ อายุรแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาอายุรศาสตร์
Background and Objective: Airway management is an important part of the critically ill and injured patients management in the emergency room(ER). Numerous studies from developed countries were demonstrated the competency of emergency doctors in intubation. To date there have been no published data on intubations performed in the ER in Srinagarind hospital. The aim of this study is to collect the incidence of intubation related complications and physician who intubated in the ER in Srinagarind hospital.
Methods: Prospective cohort study by 192 patients intubated by the physician team in emergency room during 1 December 2009 - 30 November 2010. Standardized data forms were used to collect detail information on the intubation physician, physicians department, techniques and complications.
Results: All of the 192 patients were successfully intubated. A total of 81 (42.2%) intubations were done by doctor from medical physician and trainee. There were 73 patients (38%) reported immediate intubation related complications. The most common complication was traumatic at upper airway soft tissue. The highest incidences of complications were done by anesthesiologists and trainee. Analysis data with Chi-square test at alpha = 0.05 and Fisher's exact test (significant = p <0.05) between groups of the physicians from each department who performed intubation and incidence of immediate complications found no statistically significant. But analysis of all of the physicians who performed intubation and incidence of immediate complications of intubation found a correlation statistically significant (95% Confidence Interval = 38 (31-45), p = 0.03)
Conclusion: Tracheal intubations in emergency room in Srinagarind hospital were performed by rotational doctor from many departments. Medicine doctors and trainee were intubated most of intubation related complications has been found 38%. Faster specialist consultation and use of an appropriate monitor to confirm the position of the endotracheal tube was recommended for reducing intubation related complications.
. . .
Full text.
|