Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Effectiveness of Clinical Practice Guideline for the Prevention of Postoperative Nausea and Vomiting (PONV) in Srinagarind Hospital

การศึกษาประสิทธิผลการให้ยาตามแนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

S Pongjanyakul (ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล) 1, T Jimarsa (ธิรดา จิ่มอาษา) 2, W Taesiri (วรนุช แต้ศิริ) 3, B Gatekhlai (เบญจศิล เกตุคล้าย) 4, Waraporn Chau-In (วราภรณ์ เชื้ออินทร์) 5, M Wongswadiwat (มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์) 6




หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด (PONV) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยภายใน 24 ชั่วโมงแรก หลังได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้นและความพึงพอใจของผู้ป่วยลดลง การวิจัยนี้ต้องการศึกษาประสิทธิผลของการให้ยาตามแนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ หลังประกาศใช้แนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พ.. 2554 โดยบันทึกข้อมูล ดังนี้ เพศ อายุ American Society of Anesthesiology (ASA) classification ประเภทของการผ่าตัด ระยะที่เกิดอุบัติการณ์ ระดับความรุนแรงของ PONV และการปฏิบัติตามแนวทางของผู้ปฏิบัติงาน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และติดตามประเมินผล ปัญหาและอุปสรรคในการนำไปใช้งานจริง  

ผลการศึกษา: จากแบบบันทึกการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป มีผู้รับบริการจำนวน 3,329 ราย พบปัจจัยเสี่ยงสูงในการเกิด PONV 482 ราย (ร้อยละ 14.5) กลุ่มที่ได้รับยา dexamethasone ร่วมกับ ondansetron ตามแนวทาง ไม่เกิดภาวะ PONV ร้อยละ 89.0 (95% CI 85.2- 92.8) และไม่เกิดภาวะ PONV ระดับรุนแรง ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับยาตามแนวทาง ไม่เกิดภาวะ PONV ร้อยละ 77.4 (95% CI 71.8- 83.0) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P- value = 0.002) และเกิดภาวะ PONV ระดับรุนแรงร้อยละ 1.8

สรุป: การใช้ยา dexamethasone ร่วมกับ ondansetron ตามแนวทาง มีประสิทธิผลในการป้องกันการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดได้

 

Background and objective: Postoperative nausea and vomiting (PONV) is the most common complication that occurs within the first 24 hours after anesthesia. This problem can lead to morbidity affects patients in the length of hospital stay, which could reduce customer satisfaction. The aim of   this study was to assess the effectiveness of clinical practice guidelines for the prevention of PONV in high-risk groups.

Methods: This was a retrospective descriptive study, the data were collected from post anesthesia records of  Srinagarind hospital. The approach adopted for the prevention of postoperative nausea and vomiting in patients at high risk groups. The data were collected from May to July 2011.The incidence of PONV to record the gender, age, American Society of Anesthesiology (ASA) classification, type of surgery, phase of an incident, the severity of PONV and  whether the guideline was followed. The data was analyzed and monitoring problems encountered in real applications.

Results: All 3,329 patients underwent general anesthesia, the high risk group were 482 patients (14.5%). Eighty nine (95 %CI 85.2 – 92.8) of the study group compared with 77.4% (95%CI 71.8 – 83.0) of the controlled group was no incidence of PONV with statistic significance (p-value 0.002). There was no severe PONV in the study group, when compared with controlled group (1.8%).

Conclusion: This study showed that dexamethasone and ondansetron are effective drugs for the prevention of PONV in high risk groups within 24 hours periods.

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0