หลักการและวัตถุประสงค์: มะเร็งสมองในเด็กเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ภาวะการดื้อยาหลายชนิดของมะเร็งสมองในเด็กพบว่าเป็นปัญหาทั่วโลก ส่งผลให้มีพยากรณ์โรคที่แย่ การศึกษาวิจัยเซลล์มะเร็งในระดับโมเลกุลและระดับชีววิทยาเพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติของเซลล์มะเร็งยังมีความจำเป็น แต่ปัจจุบันยังไม่มีการสรุปว่าเอ็นไซม์ผสมชนิดใดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลิตเซลล์เพาะเลี้ยงมะเร็ง การศึกษานี้ทดสอบสมมติฐานที่ว่า เอ็นไซม์ผสมต่างชนิดกันจะมีผลต่อคุณภาพของเซลล์เพาะเลี้ยงแตกต่างกัน
วิธีการศึกษา: การเพาะเลี้ยงเซลล์จากเนื้อเยื่อมะเร็งสมองที่ได้จากผู้ป่วยมะเร็งสมองชนิด pilomyxoid astrocytoma โดยใช้เอ็นไซม์ผสมที่แตกต่างกัน 7 ชนิด (C: collagenase, H: hyaluronidase, D: DNase I, C และ D: collagenase และ DNase I, C และ H: collagenase และ hyaluronidase, D และ H: DNase I และ hyaluronidase, และ C และ D และ H: collagenase และ DNase I และ hyaluronidase) สำหรับการแยกเนื้อเยื่อมะเร็งสมองให้เป็นเซลล์เดี่ยว ในการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเอ็นไซม์ผสมแต่ละชนิด จะศึกษาเปรียบเทียบในแง่ ความสามารถในการแยกเซลล์ให้เป็นเซลล์เดี่ยว (degrees of cell dissociation) จำนวนและขนาดของกลุ่มเซลล์ (number and size of clump cells) สัดส่วนของเซลล์ที่มีชีวิต (percentage of live cells) ความสามารถในการเจริญเติบโต (rate of cell proliferation) ความสามารถในการเจริญเติบโตให้ได้ 80 เปอร์เซนต์ (time of 80% cell confluency)
ผลการศึกษา: เอ็นไซม์ผสมทั้ง 7 ชนิด มีความสามารถในการแยกเนื้อเยื่อมะเร็งสมองให้เป็นเซลล์เดี่ยวโดยมีเซลล์กลุ่มอยู่บ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าๆ กัน ทุกชนิดของเอ็นไซม์ผสมมีสัดส่วนของเซลล์ที่มีชีวิตในสัดส่วนที่สูงในทุกชนิดของเอ็นไซม์ผสม ประมาณ 80 ถึง 95 เปอร์เซนต์ เซลล์ที่แยกโดยเอ็นไซม์ผสมเกือบทุกชนิดสามารถเจริญเติบโตให้มีจำนวน 1.5x105 เซลล์ได้ภายในเวลา 96 ชั่วโมง หลังจากใส่เซลล์ลงไปเพาะเลี้ยง มีเพียงเอ็นไซม์ผสมชนิด D, H และ C+D ที่ไม่สามารถเจริญจนมีจำนวนที่กำหนดภายในเวลา 120 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามเอ็นไซม์ผสมทุกชนิดเซลล์สามารถเจริญเติบโตจนถึงความหนาแน่น 80 เปอร์เซนต์ได้ภายใน 120 ชั่วโมง
สรุป: ข้อมูลจากการศึกษานี้บ่งชี้ว่า ในการผลิตเซลล์เพาะเลี้ยงมะเร็งสมองจากมะเร็งสมองชนิด pilomyxoid astrocytoma เอ็นไซม์ผสมต่างชนิดกันมีประสิทธิภาพในการผลิตเซลล์เพาะเลี้ยงได้เหมือนกัน
คำสำคัญ: การเพาะเลี้ยงเซลล์จากเนื้อเยื่อผู้ป่วย, เซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมะเร็งสมอง, การผลิตเซลล์เพาะเลี้ยง
Background and Objective : Pediatric brain tumor is the second most common cancer after leukemia. Multidrug resistance is a problematic issue worldwide resulting in poor prognosis. Molecular and biological research on cancer cells is essentially required to understand the nature of cancer cells but the most effectiveness of different enzyme cocktail conditions for primary cell line establishment has not been conclusive. This study tests the hypothesis that different enzyme cocktail conditions differently affect the quality of cell line establishment.
Materials and Methods: Primary cell line establishment of pilomyxoid astrocytoma tissues was performed using 7 different enzyme cocktail conditions (C: collagenase, H: hyaluronidase, D: DNase I, C+D: collagenase + DNase I, C+H: collagenase + hyaluronidase, D+H: DNase I + hyaluronidase, and C+D+H: collagenase + DNase I + hyaluronidase) for cell dissociation. To compare the effectiveness of 7 enzyme cocktail conditions, a degree of cell dissociation, clump cell size, percentage of live cells, cell proliferation rate and time of 80% cell confluency from each condition were investigated.
Results: All of the 7 enzyme cocktail conditions provided similarly effective cell dissociation. All conditions displayed a high percentage of live cells after dissociation, ranging from 80-95%. Although, most of studied conditions could proliferate to reach 1.5x105 cells within 96 hours after seeding. D, H and C+D conditions could not proliferate to reach the expected number within 120 hours. However, all conditions effectively grew to produce 80% cell confluency within 120 hours.
Conclusion: The present data indicate that in primary cell line establishment of brain pilomyxoid astrocytoma, different standard enzyme cocktail conditions similarly provide the effectiveness of cell line establishment.
Keywords: primary cell culture, brain tumor cell line, cell line establishment
. . .
Full text.
|