หลักการและวัตถุประสงค์ : ในปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นมีผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้น ในบางรายต้องการได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว แพทย์เจ้าของไข้จึงมีการส่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพิ่มมากขึ้น เพื่อศึกษาว่าผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถนำไปสู่การวางแผนการรักษาได้มากน้อยเพียงใด
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2555 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ได้บันทึกข้อมูลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินที่ส่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทั้งด้านคลินิก สิ่งตรวจพบจากคลื่นเสียงความถี่สูง การรักษาที่ได้รับ ตลอดจนการวินิจฉัยสุดท้าย
ผลการศึกษา : จำนวนผู้ป่วยฉุกเฉิน 363 ราย ที่ได้รับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 46 ปี ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเป็นเพศชาย ชนิดการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงร้อยละ 77 เป็นการตรวจช่องท้อง ผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงส่งผลต่อการวางแผนการรักษา ร้อยละ 94 ความถูกต้องในการวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วย ภาวะฉุกเฉินพบร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับการวินิจฉัยสุดท้าย จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ผลการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงมีผลต่อการวางแผนการรักษามากที่สุดคือ ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินที่สงสัยสาเหตุมาจากระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบหลอดเลือด และระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอาการทางช่องท้องที่ไม่ชัดเจน พบว่าคลื่นเสียงความถี่สูงไม่มีผลต่อการพิจารณาวางแผนการรักษา
สรุป การส่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงมีผลมากในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
Background and objective : In now Khon Kaen hospital have emergency patient increases, in some people wants to have diagnose that is correct and fast, then attending physicians have sending ultrasonography increase. To quantify the impact of ultrasonography (US) on the diagnosis and treatment of emergency conditions.
Material and method : A prospective study was conducted between March and December 2012 at a tertiary care hospital. US was performed by experienced staff radiologist during the working hours. Data collection forms were filled by experienced staff radiologists. The final discharge diagnoses were obtained from medical charts and computerized records. Data collected included age, gender, provisional diagnosis, ultrasound findings, the discharge diagnosis, time of ultrasound examination, other radiologic investigations and therapeutic interventions. Outcomes included the impact and diagnostic accuracy of US.
Results : Three hundred sixty three patients underwent emergency ultrasound examinations. The median age was 46 years. Approximately 50% were male. The anatomical region most commonly examined was the abdomen (77%). US had an impact on clinical management in 94% of all examinations. The overall accuracy of US was 90%. Factors associated with higher impact included urological, vascular and musculoskeletal conditions, while less abdominal conditions were associated with less impact.
Conclusion : The impact of US on the management of emergency conditions was high. However, a more efficient use of emergency US is still possible, especially for abdominal conditions.
Keywords ; Impact, Emergency, Ultrasound
. . .
Full text.
|