หลักการและวัตถุประสงค์: ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) และปัญหาด้านความเครียดจากการทำงานเป็นปัญหาที่พบบ่อยของพยาบาล การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าความชุกของ MSDs และศึกษาความเครียดจากการทำงานของพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 240 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบด้านความตรงของเนื้อหาและความเที่ยงของแบบสอบถามอยู่ในระดับดี แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน โดยใช้เก็บข้อมูลส่วนบุคคล ความเครียดจากการทำงาน และอาการ MSDs ซึ่งคำนวณค่าอัตราความชุกของ MSDs ในช่วง 7 วัน และ 12 เดือนที่ผ่านมา
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 82.5), มีอายุระหว่าง 23-60 ปี โดยพบสูงสุดร้อยละ 42.5 มีอายุอยู่ระหว่าง 23-30 ปี, อายุการทำงานระหว่าง 1-34 ปี โดยพบสูงสุดร้อยละ 64.6 มีอายุการทำงานอยู่ระหว่าง 1-10 ปี, ตำแหน่งงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 52.5, อัตราความชุกของ MSDs ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 70.4 (95%CI 64.6-76.2) และในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 73.3 (95%CI 67.7-78.9) ตำแหน่งที่พบปัญหาสูงสุด 3 อันดับแรกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา คือ ไหล่ (ร้อยละ 64.6) รองลงมา คือ คอ (ร้อยละ 59.2) หลังส่วนบนและหลังส่วนล่างมีอัตราเท่ากัน (ร้อยละ 48.8) ตามลำดับ และผลการศึกษายังพบว่าพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีความเครียดจากการทำงานอยู่ในระดับสูง (SWI ≥ 3) ร้อยละ 75.9 ซึ่งหมายถึง มีความรู้สึกไม่สบายมาก
สรุป: ผลการศึกษาพบค่าความชุกสูงในบริเวณตำแหน่งของ คอ/ไหล่ และหลังในพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และนอกจากนั้นยังพบปัญหาด้านความเครียดจากการทำงานสูงด้วย ดังนั้นการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับ MSDs เพื่อป้องกันพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินจากปัญหาทางสุขภาพดังกล่าว
คำสำคัญ: ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, พยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, ความเครียดจากการทำงาน
Background and objective: Musculoskeletal disorders (MSDs) and work stress were common health problems among nurses. This study aimed to investigate the prevalence of MSDs and work stress among emergency nurses at the regional hospitals in the northeast of Thailand.
Methods: This study was a cross-sectional descriptive study and subjects were 240 emergency nurses. Data were collected during June to August 2014 by using self-administered questionnaires with good validity and reliability. The questionnaires were divided into three parts to measure demographic characteristics, work stress and MSDs. The prevalence rate of MSDs was calculated for the last 7- days and 12- months periods.
Results: The results showed that most subjects were female (82.5%), ages ranged between 23-60 years and 42.5% were 23-30 years. Work experience ranged from 1-34 years and 64.6% were 1-10 years, job position in practitioner level was 52.5%. The prevalence rate of MSDs during the last 7- days period was 70.4% (95%CI 64.6-76.2) and during the last 12 months period was 73.3 % (95%CI 67.7-78.9). The top three prevalence was predominantly located on areas of shoulder (64.6%), neck (59.2%), upper back and lower back with the same rate (48.8%), respectively. Another significant finding was that emergency nurses had the high level of work stress (SWI ≥ 3) for 75.9% as serious problems.
Conclusions: The findings of this study showed that the high prevalence of neck/shoulder pain and back pain among emergency nurses and high work stress was identified as well, therefore the further study should be investigated of the risk factors associated with MSDs in order to protect emergency nurses from these health problems.
Keywords: Musculoskeletal disorders, Emergency nurses, Work stress
. . .
Full text.
|