บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ค่าใช้จ่ายด้านยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ที่ทำการศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัดจึงประกาศนโยบายควบคุมการใช้ยาลดไขมันในเลือด เมื่อ 1 ธันวาคม 2554 วัตถุประสงค์การศึกษานี้จึงเพื่อสำรวจการสั่งจ่ายยาหลังมีนโยบายนี้
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลการสั่งใช้ยาทั้งจำนวนใบสั่งยาและมูลค่าของยาลดไขมันในเลือด 3 ชนิดคือ pravastatin (P) atorvastatin (A) และ ezetimibe (E) จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยแยกตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลช่วง 6 เดือนก่อนและหลังการประกาศนโยบายนี้ (1 มิถุนายน 2554 ถึง 30 พฤษภาคม 2555) ด้วยการใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: ตลอดช่วง 12 เดือนที่ศึกษามีผู้ป่วย 376 ราย (รับบริการ 1,330 ครั้ง) ส่วนใหญ่เป็นสิทธิข้าราชการ (ร้อยละ 77.4) รายงานผลการใช้ยาในช่วง ก่อนและหลัง ประกาศนโยบาย ดังนี้ (1) จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยาของยา P/A/E ก่อนมีนโยบายคือ 53/121/97 ราย และหลังมีนโยบายคือ 57/176/108 ราย (2) ร้อยละการสั่งจ่ายยาที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายที่ประกาศของยา P/A/E คือ 49.1/72.8/80.9 (3) มูลค่ารวมจากการสั่งใช้ยาไม่สอดคล้องนโยบายที่ประกาศ 1,569,533.75 บาท (4) สิทธิข้าราชการถูกสั่งจ่ายยาที่ไม่ตรงข้อบ่งใช้ตามนโยบายมากที่สุด (5) อัตราการครองยาเฉลี่ยของยา P/A/E ก่อนมีนโยบาย คือ 0.99/1.04/0.97 และหลังมีนโยบาย คือ 1.03/1.05/1.02
สรุป: หลังประกาศใช้นโยบายยังพบการสั่งจ่ายยาที่ไม่สอดคล้องและมูลค่ายาที่สูญเสียเพิ่มขึ้น จึงควรทบทวนการประกาศใช้นโยบายของโรงพยาบาลให้ทั่วถึงและทำการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้สั่งใช้ยาต่อไป
คำสำคัญ : การสั่งยา, บัญชียาหลักแห่งชาติ, อัตราการ ครอบครองยา
ABSTRACT
Background and objective: The trend of medical budget in Non-Essential drug (NED) of National of essential Medicines 2008 in medical school hospitals has been increased every year. On 1st December 2011, Pharmaceutical & Therapeutic Commeittee (PTC) announced policy to control budget of antilipedemic drugs. This study was aimed to survey prescription after announcement of this policy.
Methods: We collected electronic data of prescription and cost of 3 antilipidemic agents; pravastatin (P), atorvastatin (A), and ezetimibe (E). Separatated data by health scheme of patient, during 6-month period before and after an announcement of this poicy (June 1st, 2011 May 31th, 2012). Descriptive data analysis was run by SPSS.
Results: During 12 months of this study, there were 376 patients (1,330 visits). Majority of them were Civil Servant Medical Benefit Scheme, CSMBS (77.4%). Medicine usage report during before and after implement date of the policy were (1) a numbers of patients whom prescribed P/A/E before implement date were 53/121/97-108 persons, and a numbers of patients whom prescribed P/A/E after implement date were 57/176/108 persons (2) percentage of prescription which non-compliance to the policy of P/A/E were 49.1%/72.8%/80.9% (3) total medical budget due to prescribing with non-compliance to policy were 1,569,533.75 baht (4) CSMBS patients were majority group of prescription with non-compliance to indication indicated in the policy (5) Average of Proportion of Days Covered (PDC) before implement date were 0.99/1.04/0.97, and PDC after implement date were 1.03/1.05/1.02.
Conclusion: After the announcement of this policy we found increasing prescription and medical budget with non-compliance to the policy. That might be reviewed distribution of this policy in hospital and appropriate communication of the announcement to physician.
Keywords : Prescribing, National Essential Drug List, Proportion of Days Covered (PDC)
. . .
Full text.
|