Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Management of Radiation Exposure Received from Pulse Fluoroscopy during Percataneous Transheptic Biliang Drainage in Cholangiocarcinoma Patients

การจัดการได้รับรังสีขณะใช้เครื่องฟลูออโรสโคปีย์ฉายรังสีแบบลูกคลื่น ระหว่างการใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนังในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี

Varaporn Silavised (วราภรณ์ ศิลาวิเศษ) 1, Amornrat Mangsa (อมรรัตน์ มังษา) 2, Somsak Wongsanon (สมศักดิ์ วงศ์ษานนท์) 3, Benjong Keonkaew (บรรจง เขื่อนแก้ว) 4, Eimorn Mairiang (เอมอร ไม้เรียง) 5, Petcharakorn Hanpanich (เพชรากร หาญพานิชย์ ) 6




บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีด้วยการใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนัง ส่วนใหญ่ทำหัตถการภายใต้เครื่องฟลูออโรสโคปีย์ฉายรังสีแบบลูกคลื่น ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์มีโอกาสได้รับปริมาณรังสีสูง คณะผู้วิจัยได้ศึกษาเทคนิคการฟลูออโรสโคปีย์แบบลูกคลื่นที่ยังคงคุณภาพของภาพฟลูออโรสโคปีย์โดยใช้ปริมาณรังสีน้อยที่สุด

วิธีการศึกษา: ทำการวิจัยโดยการวัดและคำนวณหาค่าปริมาณรังสีที่หุ่นเนื้อเยื่อจำลองและที่ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนังภายใต้เครื่องฟลูออโรสโคปีย์ฉายรังสีแบบลูกคลื่น จำนวน 120 ราย และศึกษาคุณภาพของภาพถ่ายฟลูออโรสโคปีย์ที่ได้ การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาวิจัย ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผลการศึกษา: พบว่าปริมาณรังสีในหุ่นเนื้อเยื่อจำลองเท่ากับ 3.354, 6.577 และ 10.884 มิลลิเกรย์  จากเทคนิค 3.5, 7.5 และ 15 ภาพต่อวินาที ตามลำดับ ที่เทคนิค 3.5 ภาพต่อวินาทีเกิดภาพเงาซ้อนจึงไม่ใช้กับผู้ป่วยจริงปริมาณรังสีที่ผิวหนังเฉลี่ยต่อนาทีของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในการใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนัง เท่ากับ 0.94 ± 0.38  และ 1.82 ± 0.91 มิลลิเกรย์  จากเทคนิค 7.5 และ 15 ภาพต่อวินาที ตามลำดับ รายละเอียดของภาพจากเทคนิค 7.5 และ 15 ภาพต่อวินาที ทั้งในหุ่นเนื้อเยื่อจำลองและผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในการใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนังไม่แตกต่างกัน

สรุป: เทคนิคฟลูออโรสโคปีย์แบบลูกคลื่น 7.5 ภาพต่อวินาที ทำให้ได้ภาพฟลูออโรสโคปีย์ที่มีคุณภาพสำหรับการใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนัง และใช้ปริมาณรังสีน้อยที่สุด

คำสำคัญ : การใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนัง ฟลูออโรสโคปีย์แบบลูกคลื่น ปริมาณรังสี

 

Abstract

Background and objectives:  The treatment of cholangiocarcinoma by percutaneous transhepatic biliary drainage is usually performed under pulse fluoroscopy. The authors studied the optimal  radiation dose in pulse fluoroscopy techniques and image quality to reduce radiation dose exposed to patients and medical personals.

Methods: Radiation dose in phantom and in 120 patients who underwent percutaneous transhepatic biliary drainage during pulse fluoroscopy were analyzed. The image quality was  studied. The study was performed at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

Results: The radiation doses in phantom were 3.354 6.577 and 10.884 mGy by using 3.5, 7.5 and 15 frame-per-second protocol, respectively. At the 3.5 frame-per-second protocol, the  image presented shadow, so it was inappropriate for use in patients. The average of enhance skin dose in minute of patients who underwent percutaneous transhepatic biliary drainage were 0.94 ± 0.38  and 1.82 ± 0.91 mGy by using 7.5 and 15 frame-per-second protocol, respectively. There was no significant difference in image quality between the phantom and patients percutaneous transhepatic biliary drainage between using 7.5 and 15 frame-per-second protocol.

Conclusion: Pulse fluoroscopy at 7.5 frame-per-second protocol provided optimum radiation dose and image quality for percutaneous transhepatic biliary drainage.

Key words: percutaneous transhepatic biliary drainage, pulse fluoroscopy, radiation dose

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0