บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะหัวนมแตกเป็นสาเหตุสำคัญทำให้มารดาเลิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การประคบแผลหัวนมด้วยความร้อนชื้นที่เหมาะสม อาจช่วยลดระดับการแตกของแผลหัวนม และลดความเจ็บปวดหัวนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลมารดาที่คลอดครรภ์แรกซึ่งมีข้อกำจัดในการดูแลแผลหัวนมตามการพยาบาลปกติได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประคบแผลหัวนมด้วยลูกประคบเจล
อุ่นแบบชื้นต่อระดับการแตกของแผลหัวนม และความเจ็บปวดหัวนม
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดครรภ์แรกที่คลอดปกติ มีระดับการแตกของแผลหัวนมที่ระดับ 2-3 ที่หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น เริ่มศึกษาใน 12-24 ชั่วโมงหลังคลอด สุ่มโดยจับฉลากเข้าสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองได้รับการประคบแผลหัวนมด้วยลูกประคบเจลอุ่นแบบชื้นร่วมกับการได้รับการพยาบาลตามปกติ 14 ราย และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแผลหัวนมตามการพยาบาลตามปกติ 14 ราย ทั้งสองกลุ่ม มีการประเมินระดับการแตกของแผลหัวนม และประเมินความเจ็บปวดหัวนมเปรียบเทียบกัน
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีระดับการแตกของแผลหัวนมลดลงที่ 12 ชั่วโมงหลังการดูแล (p<0.01) และมีระดับการแตกของแผลหัวนมลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม หลังได้รับการดูแล 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมง (p<0.01) ด้านความเจ็บปวดหัวนม กลุ่มทดลองมีความเจ็บปวดหัวนมลดลงมากที่สุดหลังประคบทันที และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังประคบ 1 ชั่วโมงแต่ต่ำกว่าก่อนประคบทุกครั้ง (p<0.01) และหลังการดูแล 24 ชั่วโมง กลุ่มทดลองเริ่มมีความเจ็บปวดหัวนมลดลง และลดลงต่อเนื่องจนถึงหลังการดูแล 48 ชั่วโมง โดยความเจ็บปวดหัวนมหลังการดูแล 48 ชั่วโมง ลดลงมากกว่าหลังการดูแล 36 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) และหลังการดูแล กลุ่มทดลองมีคะแนนความเจ็บปวดหัวนมลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมทุกระยะ โดยหลังการดูแล 48 ชั่วโมง ความเจ็บปวดหัวนมของมารดากลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01)
สรุป: การประคบแผลหัวนมด้วยลูกประคบเจลอุ่นแบบชื้นมีผลในการลดระดับการแตกของแผลหัวนม และความเจ็บปวดหัวนมในมารดาที่คลอดครรภ์แรก วิธีการนี้สามารถนำมาใช้ผนวกกับการรักษาพยาบาลปกติในการดูแลรักษามารดาหลังคลอดกลุ่มนี้ได้
คำสำคัญ: แผลหัวนม, ปวดหัวนม, เจลร้อน, ประคบน้ำอุ่น
Background and Objective: Nipple soreness is one of the major reasons for restraining breastfeeding in mother. Compression on sore nipples with a warm moist pack can effectively reduce the levels of soreness in the nipples and pain. As a result, it is of benefit for taking care of primiparous mothers with limitations regarding sore nipples during routine care. The objectives of this study are to compare the effects of using warm moist gel pack compression on sore nipples in primiparous mothers with routine care against normal routine care alone on levels of soreness in the nipple and pain in primiparous mothers.
Methodology: A quasi-experimental research design was conducted in participants who were primiparous mothers and gave birth with normal labour. The participants were admitted to the postpartum unit of Srinagarind Hospital, Khon Kaen University. Within 12-24 hours after giving childbirth, they were divided into two groups including an experimental group (N=14) and control group (N=14). The experimental group received warm moist gel pack compression on sore nipples combined with routine care whereas the control group received only routine care. Both groups were evaluated for nipple soreness and nipple pain.
Results: The results showed that the level of nipple soreness of the experimental group was significantly decreased (p<0.01) after 12 hours of treatment, and lower level of nipple soreness than that of the control group after 12, 24, 36, and 48 hours of the treatment sessions (p<0.01). In addition, we noted that the nipple pain of the experimental group was decreased the most immediately after the compression whereas it was slightly increased after 1 hour of compression. However, the pain level after each compression was always lower than that of before compression (p<0.01). After 24 hours of treatment the experimental group had continuously decreased the level of nipple pain until the 48th hour of treatment, i.e. the level of nipple pain after 48 hours of treatment was much lower than the pain level after 36 hours of treatment (p<0.01). After treatment, the nipple pain of the experimental group was lower than that of the control group in every period, i.e. after 48 hours of treatment, nipple pain of the experimental group was lower than that of the control group (P<0.01).
Conclusions: It is concluded that a warm moist gel pack compression could effectively reduce nipple soreness and pain in primiparous mother. We suggest thet it could be incorporated with a routine care for this patient population.
Key word: nipple soreness, nipple pain, hot gel, warm water compress
. . .
Full text.
|