บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับบริการทางวิสัญญีจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังและดูแลตลอดเวลาโดยใช้อุปกรณ์ทางวิสัญญี ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีอุปกรณ์ทางวิสัญญีสำหรับห้องผ่าตัด 20 ห้องและห้องพักฟื้น 2 ห้อง จำนวน 1,020 รายการ การตรวจสอบอุปกรณ์ให้คงอยู่เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแม้ว่ามีการตรวจสอบทุกวันก็ยังมีอุปกรณ์สูญหาย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการป้องกันอุปกรณ์ทางวิสัญญีสูญหายโดยใช้กระบวนการระดมความคิดและศึกษาอัตราการสูญหายของอุปกรณ์ทางวิสัญญีภายหลังใช้แนวทาง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ในช่วง 1 มกราคม 2552 - 31 ธันวาคม 2554 ที่ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการระดมความคิดกับกลุ่มบุคลากรในภาควิชา (วิสัญญีพยาบาล แพทย์ผู้ฝึกอบรม นักเรียนวิสัญญีพยาบาล) และหน่วยงานอื่น (แผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด แผนกการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ หน่วยซักฟอก) เพื่อหาสาเหตุและวิธีป้องกัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำแนวทางปฏิบัติการป้องกันอุปกรณ์ทางวิสัญญีสูญหาย จากนั้นได้เผยแพร่ในหน่วยงานและรณรงค์ให้มีการปฏิบัติแนวทางอย่างต่อเนื่อง และทำการเก็บข้อมูลจำนวนอุปกรณ์ทางวิสัญญีที่สูญหาย
ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการระดมความคิดเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติโดยการค้นปัญหาและสร้างแนวทางปฏิบัติจำนวน 137 ราย ภายหลังการใช้แนวทางปฏิบัติพบว่าจำนวนอุปกรณ์ทางวิสัญญีที่สูญหายในปีพ.ศ. 2553, 2554 น้อยลงกว่าปีพ.ศ. 2552 โดยปีพ.ศ.2553 มีอุปกรณ์สูญหายลดลงร้อยละ 12 (ค่าใช้จ่ายลดลงร้อยละ 82.3) ปีพ.ศ. 2554 มีอุปกรณ์สูญหายลดลงร้อยละ 62 (ค่าใช้จ่ายลดลงร้อยละ 88.8)
สรุป: แนวทางปฏิบัติการป้องกันอุปกรณ์ทางวิสัญญีสูญหายที่พัฒนา รวมทั้งการรณรงค์ให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สามารถลดอัตราการสูญหายและลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์
คำสำคัญ: อุปกรณ์ทางวิสัญญี การสูญหาย และการจัดหา
Background and objective: Patients who received anesthesia service required anesthesia equipments aims to monitor and care during anesthetic. At department of anesthesiology, faculty of medicine, Khon Kaen university, we have 1,020 anesthesia equipments for 20 operating rooms and 2 post anesthetic care units. Although, we checked them daily, losing equipment always happen. So, losing prevention is very importance. This study aims to develop the anesthetic equipment losing prevention guideline by brainstorming technique and study the losing incidence after guideline launched.
Method: This study was descriptive study. We studied between 1 January 2009 - 31 December 2011 at department of anesthesiology. Brainstorming group was included personnel in department (nurse anesthetists, nurse anesthetist students, residents) and others unit (operating nurse, critical care nurse, laundry personnel) aimed to search problem, find prevention technique, and develop the guideline. Then we introduced the guideline to all personnel and have campaign for prevention. We also recorded incidence of anesthetic loss.
Results: One hundred and thirty seven personnel were included into study. After guideline launched, losing incidence in year 2010, 20111 were lesser than in year 2009. In year 2009, 18 pieces were loss (cost 40,000 baht). In year 2010, 16 pieces were loss (12 % reduction) and cost was 7,063 baht (82.3 % reduction). In year 2011, 7 pieces were loss (62 % reduction) and cost was 4,500 baht (88.8 % reduction).
Conclusion: Guideline for prevention of anesthetic equipment loss. That developed by brain storming technique including campaign for prevention can reduce losing incidence and reduce the cost for replacement.
Keywords: Anesthetic Equipment, Losing and Supplies
. . .
Full text.
|