หลักการและวัตถุประสงค์: การให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัดเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้การผ่าตัดดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น แต่ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีได้ทั้งในระหว่างและหลังผ่าตัด กรณีที่รุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีระบบติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด เพื่อค้นหาและประเมินภาวะแทรกซ้อนและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีภายใน24ชั่วโมงหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยภายหลังได้รับการระงับความรู้สึกภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 41,869 ราย
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีรวมทั้งสิ้น 308 ราย โดยในปี พ.ศ. 2550 พบ 127 ราย จากจำนวน 13,549 ราย ในปี พ.ศ. 2551 พบ 75 รายจากจำนวน 14,132 ราย และในปี พ.ศ. 2552 พบ 106 รายจากจำนวน 14,188 ราย ซึ่งคิดเป็นการเกิดอุบัติการณ์ 93.7, 53.1 และ 74.7 ต่อ 10,000 ตามลำดับ ลักษณะของผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีมีอายุระหว่าง 39-45 ปี พบในสองเพศใกล้เคียงกัน ระดับการประเมินความเสี่ยงทางวิสัญญี ASA physical status 1 ร้อยละ 52.6 ผู้ป่วยได้รับการให้ยาระงับความรู้สึก regional anesthesia ร้อยละ 51.0 และไม่มีโรคประจำตัวมาก่อนร้อยละ 59.7 ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีที่พบมากที่สุดในทั้ง 3 ปี ได้แก่ urinary retention พบร้อยละ 41.7, 34.7 และ26.4 ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนที่พบเป็นอันดับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2550 และ 2552 ได้แก่ nausea/vomiting (severe) ร้อยละ 24.4, 23.6 ตามลำดับ แต่ในปี พ.ศ. 2551 พบ post dural puncture headache เกิดขึ้นร้อยละ 21.3 และอันดับ 3 ในทั้งสามปี ได้แก่ผู้ป่วย death ร้อยละ 7.1 nausea/vomiting (severe) ร้อยละ 17.3 และ post dural puncture headache ร้อยละ 13.2 ตามลำดับ
สรุป: อุบัติการณ์ทางวิสัญญีโดยการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยย้อนหลัง 3 ปี พบอุบัติการณ์เฉลี่ย 73.8 ต่อ 10,000 โดยภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีที่พบมาก 3 อันดับแรกคือ urinary retention nausea/vomiting (severe) และผู้ป่วยมี post dural puncture headache จากการเจาะเยื่อหุ้มไขสันหลัง ตามลำดับ
คำสำคัญ: การเยี่ยมผู้ป่วยหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง, อุบัติการณ์, ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี
Background and Objective: The anesthesia is a process that facilitates the operation to go smoothly. However, patients have a risk of anesthetic complications both during and after surgery. In the case of serious complications can cause death. Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University has a system to monitor patients who received anesthesia within 24 hours after surgery to find and evaluate the complications that may be arise and resolve the problems with patient safety goals. The objective of this study was to investigate the anesthetic complications within 24 hours after surgery in Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.
Methods: The study was a retrospective descriptive study. Data were collected from the anesthetic records of patients underwent anesthesia for surgery within 24 hours after surgery from 1 January 2007 to 31 December 2009 with a total of 41,869 cases.
Results: There were a total cases of 308 anesthetic complications 127 cases in the year 2007 (out of a total of 13,549 cases) 75 cases in the year 2008 (out of a total of 14,132 cases) and 106 cases in the year 2009 (out of a total of 14,188 cases), representing an incidence of 93.7, 53.1 and 74.7 per 10,000 patient, respectively. Their average age were 39-45 years old, mainly females (50.3%), American Society of Anesthesiologists (ASA) physical status 1 (52.6%), receiving regional anesthesia (51.0%) and no underlying disease (59.7%). The most common anesthetic complications in study period, such as urinary retention was 41.7%, 34.7% and 26.4%, respectively. The second common complications in the year 2007 and 2009 include severe nausea / vomiting were 24.4% and 23.6%, respectively, however in the year 2008 showed the post dural puncture headache (PDPH) was 21.3%. The third common complications in all three years were the death (7.1%), severe nausea / vomiting (17.3%) and PDPH (13.2%), respectively.
Conclusion: The average incidence of anesthetic complications within 24 hours after surgery in the three years was 73.6 per 10,000. The top three of anesthetic complications were urinary retention, severe nausea / vomiting and post dural puncture headache, respectively.
Keywords: 24-hour postoperative visit, the incidence, anesthetic complications
. . .
Full text.
|