e-journal Editor page
Study the Effectiveness of Massive Transfusion Protocol at Srinagarind Hospital Faculty of Medicine, Khon Kaen University
การศึกษาผลของการใช้แนวทางการบริหารจัดการภาวะการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดปริมาณมาก (Massive transfusion protocol: MTP) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Waraporn Chau-In (วราภรณ์ เชื้ออินทร์) 1, Sukree Soontrapa (สุกรี สุนทราภา) 2, Jintana Puapairoj (จินตนา พัวไพโรจน์) 3, Chittima Sirijerachai (จิตติมา ศิริจีระชัย) 4, Dhaness Rangsrikajee (ธเนศ รังษีขจี) 5, Chaiyut Thanapaisal (ไชยยุทธ ธนไพศาล) 6, Chompilas Chongsomchai (โฉมพิลาส จงสมชัย) 7, Amonrat Romphruk (อมรรัตน์ ร่มพฤกษ์) 8, Panor Theechaatik (พนอ เตชะอธิก) 9, Auayporn Puttamas (อวยพร ปัทมาศ) 10, Rachanee Chanawongse (รัชนีย์ ชนะวงศ) 11, Saowaluck Riratapong (เสาวลักษณ์ ริรัตน์พงษ์) 12, Jantira Wachirapakorn (จันทิรา วชิราภากร) 13, Prajuab Chaimanee (ประจวบ ชัยมณี) 14, Kanjana Uppan (กาญจนา อุปปัญ) 15, Winita Jeerararuensak (วินิตา จีราระรื่นศักดิ์) 16, Suntraraporn Wunsupong (สุนทราพร วันสุพงศ์) 17, Charalak Poommiweingsri (จรัสลักษณ์ ภูมิเวียงศรี) 18, Sumana Sumritrin (สุมนา สัมฤทธิ์รินทร์) 19
|
บทคัดย่อ
หลักการและวัตุประสงค์: นโยบายหลักด้านความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยของโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิ ต้องมีแนวทางปฏิบัติหรือระบบรองรับภาวะตกเลือดที่รุนแรง และการจัดตั้งทีมผู้ประสานงานกลาง กลุ่มสหสาขาวิชาชีพโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วยวิสัญญีแพทย์ ศัลยแพทย์ สูติแพทย์ อายุรแพทย์ ทีมบุคลากรในห้องผ่าตัด ห้องคลอด แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ห้องปฏิบัติการชันสูตร และคลังเลือดกลาง ได้ร่วมกันสร้างแนวทางในการบริหารจัดการภาวะการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดปริมาณมาก (massive transfusion protocol: MTP) และนำมาปรับใช้จริงตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน คณะทำงานติดตามผลการใช้แนวทาง MTP โดยเปรียบเทียบผลของโครงการในปี พ.ศ.2553 และ 2554
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง 2 ปีเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานตาม Work instruction ของ Massive transfusion protocol โดยพิจารณาถึงผลลัพธ์ในการได้รับเลือดที่รวดเร็วตามเกณฑ์กำหนด ค่าใช้จ่ายในการใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือด และอัตราการรอดชีวิตภายใน 7 วัน เป็นดัชนีชี้วัดของโครงการ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ใช้รหัสเอ็มทีพี มี 22 ราย เป็นผู้ป่วยของศัลยกรรม 14 ราย ผู้ป่วยของออร์โธปิดิกส์ 5 ราย ผู้ป่วยหลังคลอด 2 ราย และผู้ป่วยของอายุรกรรม 1 ราย เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการขอและได้รับเลือดจากคลังเลือด ครั้งที่หนึ่งในปีพ.ศ.2553 และ พ.ศ.2554 เท่ากับ 22.50 + 2.89 และ 18.33 + 7.64 นาทีตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.352) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้เลือดจริง 182 ยูนิตระหว่างผ่าตัด เท่ากับ 76,743 บาท และอัตราการรอดชีวิตภายใน 7 วันหลังผ่าตัดเท่ากับร้อยละ 57 และ 61.5 ตามลำดับ
สรุป: การใช้แนวทางการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดปริมาณมาก สามารถลดระยะเวลาในการรับ-ส่งเลือดได้จริง และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตภายใน 7 วันหลังผ่าตัด เมื่อทุกกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแนวทางอย่างถูกต้องตามขั้นตอน
คำสำคัญ: การใช้แนวทางการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดปริมาณมาก, ผลการใช้
Background and Objectives: The major policy for patient safety in a tertiary care hospital includes practice guidelines or support system for hemorrhagic crisis, and the establishment of the expert working team. Multidisciplinary group of Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, compose of the anesthesiologist, surgeon, obstetrician, hematologist, team personnel from operating room, delivery room, accidental emergency unit, laboratory unit and central blood bank. Working team jointly establishes guidelines for the management of massive blood transfusion protocol (MTP) and applied it to context of each department. Working team monitors and audits the MTP approach by comparing the results of the project in the year 2010 and 2011.
Methods: We performed a retrospective study to evaluate the performance of the work instruction of massive transfusion protocol. Outcome measurements were result in a rapid blood usage within recommendation time, costs for blood and blood components and survival rate within 7 days as indicators of the MTP project. Results: There were 22 cases of patients of surgery, who used the MTP, 14 patients of surgical ward, 5 patients of orthopedic ward, two cases of delivery room and one from medical ward. The average time for a request - receive blood from the blood bank established in 2010 and 2011 were 22.50 + 2.89 and 18.33 + 7.64 minutes respectively. The difference time was no statistically significant (p=0.352). A cost arising from the use of the 182 units of blood during surgery in the study year was 76,743 Baht. The survival rates within 7 days after surgery were 57 and 61.5 percent, respectively.
Conclusion: The massive transfusion protocol decrease duration time of blood arrival to operating room and increase survival rate within 7 days, if all relevant guidelines were followed step by step. Keywords: massive transfusion protocol, patients outcome
. . .
Full text.
|
|
|
|
|