Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

The Exposure of Peripheral Nerve Block in Residency Training Program at Srinagarind Hospital

การสำรวจจำนวน ประเภท และอัตราความสำเร็จ ของการให้การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนของแพทย์ฝึกอบรมวิสัญญี ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Malinee Wongswadiwat (มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์) 1, Aumjit Wittayapiroj (อุ้มจิต วิทยาไพโรจน์) 2, Cattleya Thongrong (คัทลียา ทองรอง) 3, Warachon Utchachon (วราชน อุดชาชน) 4, Punlop Bundaj (พัลลภ บุญเดช) 5




บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์:  การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนแบบ peripheral nerve block ได้รับการยอมรับและนิยมเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากหัตถการนี้สามารถระงับความรู้สึกเพื่อทำการผ่าตัดได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องวางยาสลบผู้ป่วย (general anesthesia) หลีกเลี่ยงการใส่ท่อช่วยหายใจ นอกจากนี้ยังส่งผลระงับปวด และลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาระงับปวดกลุ่ม opioid หลังผ่าตัดอีกด้วย อย่างไรก็ตามการฝึกอบรมแพทย์วิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์นั้นจะได้รับประสบการณ์การทำ central neuraxial block อย่างเพียงพอ แต่การฝึกการทำ peripheral nerve block ระหว่างการฝึกอบรมนั้น ยังไม่มีกำหนดแน่ชัดถึงปริมาณ ประสบการณ์ที่ควรจะได้รับ เพื่อให้วิสัญญีแพทย์ที่จบออกไปสามารถทำหัตถการได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย ทางภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังไม่เคยมีการสำรวจถึงปริมาณ และชนิดหัตถการที่แพทย์ที่เข้าฝึกอบรมได้รับประสบการณ์ในการทำหัตถการดังกล่าวระหว่างการฝึกอบรม รวมถึงอัตราความสำเร็จของการทำ จึงได้ทำการศึกษานี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดปริมาณหัตถการที่ควรจะได้รับก่อนจบการฝึกอบรมต่อไป

วิธีการศึกษา:  การศึกษานี้เป็นการศึกษาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ (anesthetic record) จาก เดือนเมษายน พ.ศ. 2548 ถึงเมษายน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลแพทย์ฝึกอบรมวิสัญญีที่จบการศึกษาทั้งสิ้น 4 รุ่น โดยข้อมูลที่เก็บแยกชั้นปีและเป็นรายบุคคล ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการฝึกอบรมจนกระทั่งจบการฝึกอบรมวิสัญญี ข้อมูลที่เก็บมีชนิดของหัตถการ จำนวนครั้งที่ได้ทำ peripheral block ในแต่ละชั้นปี อัตราความสำเร็จในการทำของหัตถการแต่ละอย่าง เทคนิคและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหัตถการ

ผลการศึกษา:  จำนวนแพทย์ฝึกอบรมวิสัญญีทั้ง 4 รุ่นปีการศึกษาทั้งหมด 26 คน โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธี peripheral nerve block เฉลี่ย 149 รายต่อปี หรือ 0.56-1.37% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้รับการฝึกทำ brachial plexus block ด้วยเทคนิคต่างๆ มากกว่า lower extremity block  โดยได้ฝึกทำ brachial plexus block เฉลี่ย 6-10 รายต่อคนต่อปีการศึกษา และเทคนิค supraclavicular brachial plexus block เป็นเทคนิคที่ทำมากที่สุด และเทคนิค PNB ที่ทำน้อยที่สุดคือ sciatic nerve block และ bier block ตามลำดับ การทำ brachial plexus block อัตราความสำเร็จมากที่สุดคือ แพทย์ฝึกอบรมวิสัญญีชั้นปีที่ 3, 2 และ1 ตามลำดับ (ร้อยละ 72.22, 56.41 และ 50.75) และการใช้เครื่องมือช่วยพบว่า อัตราความสำเร็จมากที่สุดคือ ultrasound guidance, paresthesia technique และ nerve stimulator (ร้อยละ 80, 50.48 และ50) ตามลำดับ

สรุป :  การฝึกทำ peripheral nerve block ในแต่ละเทคนิคระหว่างฝึกอบรมแพทย์วิสัญญี คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความมั่นใจ เมื่อจบออกไปปฏิบัติงาน ยังจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงวิธีการที่จะช่วยเพิ่มปริมาณการทำในหลักสูตรให้มากขึ้น

Background and objectives: The demand for peripheral nerve blocks and neuraxial blocks has increased over the last few years. In order to avoid complications of general anesthesia, regional anesthesia provides  adequate perioperative pain management and decreased opioid use which lead to earlier ambulation, shorter hospital stay, reduced cost and increased patient satisfaction. However, residency training program of anesthesiology in Srinagarind Hospital did not keep records regarding the individual resident's cumulative exposure to specific peripheral nerve block techniques. Further, more little is known about individual trainee experience and confidence in performing peripheral nerve block. To improve training and anesthesia practice, such information is necessary. In this study, we assessed residents' exposure cumulative, technique and success rate of peripheral nerve block.

Methods: Retrospective analysis from the medical record of residents over the course of four years who performed peripheral nerve block between April 2005 and April 2011was used. We collected information of the resident training level, number of peripheral nerve blocks performed in each type, and the success rate in performing these techniques.

Results: A total of 26 residents in a 4-year training program, experienced, 149 patients in their individual cumulative exposure to peripheral nerve block techniques per year were evaluated. Only 0.56-1.37% of total patients had performed peripheral nerve block. The number of blocks performed varied widely according to types of block, with brachial plexus block performed more than lower extremity block. Most often at all training levels, supraclavicular brachial plexus block was used must often and sciatic nerve and bier block were performed least. At all training levels, the success rate was high with third-year (72.22%), second-year (56.41%) and first-year (50.75%) residents, respectively. Also ultrasound guidance, paresthesia technique and nerve stimulator were found to improve the success rate of peripheral nerve block, respectively.

Conclusions: The least exposure of peripheral nerve block in the residency training program at Srinagarind Hospital may lead to incompetency in performing the blocks. The training processes needs to be changed to further improve the quality of postgraduate practice.

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0