หลักการและวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงปริมาณรังสีที่ได้รับทั้งหมดในอวัยวะของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยวิธี
prospective และ retrospective ECG-triggering
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วย
233 ราย ที่ได้รับการส่งตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในด้านปริมาณรังสีที่ได้รับทั้งหมดในอวัยวะของผู้ป่วยโดยผู้ป่วยได้รับการตรวจโดยวิธีที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราการเต้นของหัวใจผู้ป่วย
ผลการศึกษา: ปริมาณรังสีที่ได้รับทั้งหมดในอวัยวะของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีค่าเฉลี่ย
2.8 ถึง 11.5 mSv
วิธีการตรวจโดย Prospective ECG-triggering (PT) สามารถทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีลดลงถึงร้อยละ64
เมื่อเทียบกับการตรวจโดย Retrospective ECG-triggering (RT)
สรุป: เนื่องจากปริมาณรังสีที่ได้รับทั้งหมดในอวัยวะของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีค่าแตกต่างกันมากจากวิธีการตรวจที่ต่างกันดังนั้นรังสีแพทย์และนักรังสีเทคนิคต้องตระหนักถึงความสำคัญและเลือกใช้วิธีการตรวจที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
คำสำคัญ:
ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ, การตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, การตรวจหลอดเลือดหัวใจ, เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์,
Background
and objective: To patient radiation dose in a group of patients who
underwent 128-row multidetector coronary computed tomography angiography (CCTA) performed with prospective electrocardiographic
(ECG) triggering with radiation dose in a group of patients who underwent CCTA performed with
retrospective ECG-triggering.
Method: We performed a
retrospective review of 233 consecutive patients referred for CCTA. CCTAs was performed using different scanning protocols
depend on patients heart rate. The effective radiation dose was calculated for each
patient.
Results: Depending on
different dose saving techniques and heart rate, the effective whole-body dose
of a cardiac scan ranged from 2.8 to 11.5 mSv.
Prospective ECG-triggering (PT) has the greatest potential to reduce the
effective dose to 64 %, compared to a comparable scan protocol with
retrospective ECG-triggering (RT).
Conclusion: Due to this
broad variability in radiation exposure of coronary CTA, the radiologist and
technician should be aware of the different dose reduction strategies.
. . .
Full text.
|