บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไต (percutaneous nephrolithotomy: PCNL) เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างมาก เนื่องจากบาดแผลมีขนาดเล็ก 1-2 ซม. อาการปวดจึงน้อยมาก ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับบ้านได้เร็วภายใน 3-5 วันหลังผ่าตัด แต่ในบางครั้งเมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นขณะและหลังผ่าตัด ที่รุนแรง ได้แก่ pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ถ้าได้รับการวินิจฉัยล่าช้าอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะ respiratory distress เกิดภาวะหายใจล้มเหลวและนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิด pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax และปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการวินิจฉัยช้าในระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปของการผ่าตัด PCNL เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำผลที่ได้ไปปรับปรุงงานบริการ และจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในหน่วยงานต่อไป
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง เก็บข้อมูลย้อนหลังในการผ่าตัด PCNL ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด PCNL 755 ราย พบมี pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax จำนวน 6 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 79.5 : 10,000 พบในเพศชายมากกว่าหญิง ในช่วงอายุระหว่าง 15-64 ปี ผู้ป่วยกลุ่มที่มีก้อนนิ่วอยู่ที่ upper pole และตำแหน่งการแทง trocar สูงกว่าระดับซี่โครงที่ 12 พบปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการวินิจฉัยช้า ได้แก่ ผู้ให้ยาระงับความรู้สึกขาดประสบการณ์ การตัดสินใจไม่เหมาะสม ประเมินผู้ป่วยไม่ดี และ ขาดความรู้ ปัจจัยที่ช่วยลดความผิดพลาดของการวินิจฉัยช้าที่ผู้ให้ยาระงับความรู้สึกควรมี เรียงจากมากไปน้อย คือ ความระแวดระวังสูง ระบบการสื่อสารที่ดี และ ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มาก่อน
สรุป: พบอุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อน pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ในการผ่าตัด PCNL หลังผู้ป่วยได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป 79.5 : 10,000 พบในผู้ป่วยที่มีตำแหน่งก้อนนิ่วอยู่ที่ upper pole และแทง trocar เหนือกว่าระดับช่องซี่โครงที่ 12 ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้วินิจฉัยช้าคือการขาดประสบการณ์ การเพิ่มความระมัดระวังและการสื่อสารกับศัลยแพทย์จะช่วยลดอุบัติการณ์
Background and objective: Percutaneous nephrolithotomy (PCNL), a minimal invasive surgery, has many benefits to the patients i.e., smaller wounds, less pain, and shorter hospital stay. However, the patients may have some serious complications, i.e., pneumothorax, hydrothorax, or hemothorax. Unless prompt detection and treatment, these complications may lead to respiratory failure and death. The objective of our study is to identify the incidence of these complications and contributing factors of delayed detection so that we can use as information for institutional quality improvement.
Methods: This study is a retrospective and descriptive study. We recruited patients undergoing PCNL between January 2007 and December 2010.
Results: We recruited 755 PCNL patients and found six cases of pneumothorax, hydrothorax or hemothorax. The incidence was 79.5 : 10,000. Most of them were males and the ages were between 15-64 years. All stones were in upper pole and the trocars were inserted by supracostal access. The contributing factors of delayed detection were inexperienced personnels, inappropriate decision making, incomplete patient evaluation, and lack of knowledge. The factors that may minimize delayed detection were high vigilance, good communication, and well experienced personnels.
Conclusions: We reported cases of pneumothorax, hydrothorax or hemothorax during PCNL under general anesthesia. The incidence was 79.5 : 10,000. All of them had stones in upper poles with supracostal access trocars insertion. The major contributing factor of delayed detection was inexperienced personnel. To minimize the delayed detection, the anesthesia personnel should have high vigilance, good communication, and good experience.
Key words : Pneumothorax, Hydrothorax, Hemothorax, PCNL : Percutaneous nephrolithotomy
. . .
Full text.
|