หลักการและวัตถุประสงค์: pseudoaneurysm ของหลอดเลือดแดง profunda femoris ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามหลังการหักของกระดูกต้นขา femur มีการรายงานถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้หลังทำการผ่าตัดรักษากระดูกต้นขาที่หัก ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ศัลยแพทย์จึงจำเป็นต้องทราบถึงกายวิภาคและความแปรปรวนของ Perforating branch ของหลอดเลือดแดง Profunda femoris จุดประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อศึกษาความแปรปรวนด้านกายวิภาคของ Perforating brance ของหลอดเลือดแดง Profunda femoris เมื่อเทียบกับความยาวกระดูก Femur ในคนไทย
วิธีการศึกษา : ทำการศึกษา fresh cadaver จำนวน 32 ราย โดยการผ่าตัดกรีดตามยาวจากจุดกึ่งกลางของเอ็น inguinal ลงไปที่ adductor tubercle ของกระดูก femur ของขาทั้งสองข้างเพื่อหาหลอดเลือดแดง profunda femoris และหลอดเลือดแดง perforating branch แต่ละแขนง ทำการวัดความยาวของกระดูก femur และระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ greater trochanter จนถึงหลอดเลือด perforating branch แต่ละแขนง ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของกระดูก femur กับ หลอดเลือด perforating branch แต่ละแขนงด้วยการวิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธ์ความสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษา : ค่าความยาวเฉลี่ยของกระดูก femur 42.4 ± 4.9 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ greater trochanter จนถึง หลอดเลือด perforating branch แขนงแรก แขนงที่สอง แขนงที่สาม และแขนงสุดท้ายเท่ากับ 9.6 ± 1.9 , 13.7 ± 2.4 , 17.3 ±3.1 , 20.7 ± 2.7 เซนติเมตร ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของกระดูก femur กับ หลอดเลือด perforating branch แขนงแรก แขนงที่สอง แขนงที่สาม และแขนงสุดท้าย ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( pearson correlation coefficient ) เท่ากับ -0.014, -0.083, -0.003 , -0.054 ตามลำดับ
สรุป : จากการศึกษานี้พบว่าค่าความยาวกระดูก femur และระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ greater trochanter จนถึง หลอดเลือด perforating branch แต่ละแขนง นั้นใกล้เคียงกับข้อมูลการศึกษาที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่การแตกแขนงของหลอดเลือด perforating branch นั้นไม่มีความสัมพันธ์กับความยาวของกระดูก femur ตำแหน่งที่ปลอดภัย (safe zone) ต่อการผ่าตัดคล้องลวดหรือใส่สกรูขัดคือตำแหน่งช่วงบน (proximal) ควรต่ำจากจุดบนสุดของ greater trochanter ลงมาไม่เกิน 7 เซนติเมตร และช่วงปลายกระดูกควรเป็นตำแหน่งที่ต่ำลงมา 28 เซนติเมตร
Background and objective: Pseudoaneurysm of the profunda femoris artery is a serious complication following femoral fracture. This condition was reported after orthopaedic surgical procedures. To avoid this complication, the orthopaedic surgeons should know the anatomical variants of the perforating branches of the profunda femoris artery. The purpose of this study was to determine the anatomical variants of the perforating branch of the profunda femoris artery compared with femur length in Thais.
Method: Thirty-two fresh human cadavers were used in this study. The common femoral artery was identified through a longitudinal incision extending from mid-point of the inguinal ligament to adductor tubercle of the femur and identified the perforating branches of femoral artery both sides. The length of the femur and distances between the tip of the greater trochanter and the perforating arteries were measured. Pearson correlation coefficient between femur length and each branch of the perforating arteries were studied.
Result : The mean length of femur was 42.4 ± 4.9 centimeters . The mean distances between the tip of the greater trochanter and first, second, third and terminal branch of perforating arteries were 9.6 ± 1.9 , 13.7 ± 2.4 , 17.3 ± 3.1 and 20.7 ± 2.7 centimeters, respectively. Pearson Correlation Coefficient between the femur length and the distances between the tip of the greater trochanter and first, second, third and terminal branch of perforating arteries were -0.014, -0.083, -0.003, -0.054 respectively.
Conclusion: This study showed a relationship between the femur and the perforating arteries as same as the previous studies. However, there were no correlation between femur length and each branch of the perforating arteries. In clinical application, the safe zone for inserted the wires or screws in the proximal femur are the area within 7 centemeters below the tip of the greater trochanter and 28 centemeters below the tip of the greater trochanter in the distal femur.
. . .
Full text.
|