Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Applying the Pillow can Reduce Radiation Dose in Computed Tomography of the Brain

หมอนรองศีรษะช่วยลดปริมาณรังสีในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง

Jiranthanin Phaorod (จิรันธนิน เภารอด) 1, Chaiwat Phaorod (ชัยวัฒน์ เภารอด) 2, Wattana Wongsanon (วัฒนา วงษ์ศานนท์) 3, Petcharakorn Hanpanich (เพชรากร หาญพานิชย์) 4, Jiraporn Srinakarin (จิราภรณ์ ศรีนครินทร์) 5




หลักการและวัตถุประสงค์: ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจวินิจฉัยสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะแปรผันโดยตรงกับระยะทางการสแกนภาพ (scan length) เพื่อลดระยะทางสแกน ทีมผู้วิจัยจึงจัดทำหมอนหนุนศีรษะให้หุ่นจำลองส่วนสมอง สามารถก้มหน้าโดยกำหนดให้เส้นทางลากจากหางตาถึงรูหู (Orbito metus baseline) ตั้งฉากกับฐานรองศีรษะ ทำให้ระยะทางของการสแกนสั้นลง ช่วยลดให้ปริมาณรังสีในการตรวจได้

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงนวัตกรรม ดำเนินการโดยการจัดทำหมอนรองหนุนศีรษะ ที่ทำจากถุงหนังที่บรรจุเม็ดโฟม จากนั้นทำการศึกษาและเก็บข้อมูลเชิงทดลองโดยใช้หุ่นจำลองส่วนสมองให้นอนหนุนและนำมาสแกนภาพโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดมัลติสไลด์ 128 สไลด์ (Multislice CT 128 slices) ที่ไม่สามารถเอียงแกนทรี (gantry) ณ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ทำการศึกษาด้วยการเปรียบเทียบระยะทางในการสแกนและปริมาณรังสีต่อระยะทาง (Dose Length Product, DLP) มีหน่วยเป็น มิลลิเกรย์-เซนติเมตร (milligray x centimeter : mGy x cm)  ที่เกิดขึ้น จากการตรวจโดยไม่หนุนหมอนและหนุนหมอนประดิษฐ์   แล้วนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์

ผลการศึกษา: จากการทดลองพบว่า หมอนประดิษฐ์รองหนุนศีรษะที่จัดทำขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างเพื่อรองรับกะโหลกศีรษะ ช่วยให้ก้มหน้าโดยกำหนดให้เส้นทางลากจากหางตาถึงรูหูตั้งฉากกับฐานรองศีรษะได้ดีขึ้น และพบว่าไม่มีผลกระทบต่อภาพทางรังสีในการตรวจสมอง  เมื่อสแกนหุ่นจำลองส่วนสมอง สำหรับการวางแผนการตรวจ (Scout image) ก่อนใช้หมอนจะใช้ระยะทางเฉลี่ยในการสแกนยาว 25 เซนติเมตร  และได้รับปริมาณรังสีเฉลี่ยต่อระยะทางที่เกิดขึ้น มีค่า DLP = 2.2 mGy x cm ระยะทางเฉลี่ยในการสแกนภาพตัดขวาง (Axial) เท่ากับ 18.9 เซนติเมตร  ปริมาณรังสีเฉลี่ยต่อระยะทางที่เกิดขึ้น มีค่า DLP = 584.8 mGy x cm ปริมาณรังสีรวมเฉลี่ยตลอดการตรวจก่อนใช้หมอน มีค่า  DLP = 587 mGy x cm เมื่อใช้หมอนประดิษฐ์มารองหนุนศีรษะที่ช่วยทำให้หุ่นจำลองก้มหน้าได้มากกว่าการวางศีรษะตามปกติ ระยะทางเฉลี่ยในการสแกนสำหรับการวางแผนการตรวจยาว 18.3 เซนติเมตร  ปริมาณรังสีเฉลี่ยต่อระยะทางที่เกิดขึ้น มีค่า  DLP = 1.63 mGy x cm ระยะทางเฉลี่ยในการสแกนภาพตัดขวาง เท่ากับ 14.5 เซนติเมตร  ปริมาณรังสีเฉลี่ยต่อระยะทาง ที่เกิดขึ้น มีค่า DLP = 467.3 mGy x cm ปริมาณรังสีรวมเฉลี่ยตลอดการตรวจ มีค่า  DLP =  468.9 mGy x cm พบว่า เมื่อให้หมอนประดิษฐ์รองศีรษะที่จัดทำขึ้นมา ช่วยลดระยะทางในการสแกน พบว่าค่า DLP ลดลง มีค่า = 118.1 mGy x cm หรือ คิดเป็นร้อยละ 20.12 ของปริมาณรังสีที่ลดลง

สรุป: หมอนประดิษฐ์รองหนุนศีรษะที่จัดทำจากเม็ดโฟม เป็นวัสดุที่ไม่มีผลกระทบต่อภาพ เมื่อนำมาหนุนรองศีรษะ สามารถลดระยะทางในการตรวจลง ช่วยลดปริมาณรังสีจากการตรวจ จากการศึกษานี้สามารถนำผลที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสมองในผู้ป่วยที่รับบริการต่อไป

คำสำคัญ: การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง, ปริมาณรังสี, ปริมาณรังสีต่อระยะทาง

 

Background and Objective:  Radiation dose from Computed Tomography (CT) is usually a direct variation with scan length. To reduce the scan length, our research team has applied the pillow which is used the head phantom to flex head and present orbito metus baseline perpendicular head support. This technique can decrease the scan length and reduce the radiation dose from the examination.

Methods : Inventing the pillow for supporting the head is made of small pieces of foam inserting in a plastic rubber bag, and it can be adjusted for supporting the skull. The skull of phantom is used to experiment and collect the data from 128 Multi-slice CT scan. The study is to compare the scanning length and the radiation dose length (DLP: Dose Length Product) and milligray x centimeter. (mGy x cm) is used as the measurement in radiation dose unit. The experiment is to compare the regular scanning and the scanning using the head supporting pillow, which has been invented by the authors. The two CT brain scanning processes were used in the same factors and exposure technique. Then the data was analyzed and compared to the overall image quality and the radiation dose.

 Result:  The head supporting pillow can reform for many dimensions of the skull and there is no radiographic effect. In routine brain CT scan, it has shown the mean of scanning length for scouting image, which is equal 25 cm. The mean of radiation dose length product is 2.2 mGy x cm and the mean of scanning length for axial scan is 18.9 cm.  The mean of radiation dose length product is 584.8 mGy x cm. The total of radiation dose length product for scanning is 587.0 mGy x cm. When using the head supporting pillow which is fully flexible for head and neck while scanning, the study has shown the scanning length for scanning plan is 18.3 cm. The mean of radiation dose length product is 1.63 mGy x cm. The scanning length for axial scan is 14.5 cm.  The mean radiation dose length product is 467.3 mGy x cm. The total radiation dose length product from scanning is 468.9 mGy x cm. Using the pillow can help in decreasing the scanning length and reducing 20.12 % of radiation dose in CT scanning. 

 Conclusion : The head supporting pillow is made from small pieces of foam. The material has no radiographic image. Using the pillow in the routine CT head scan can help decreasing the scanning length, and it also help reducing the radiation risk for the patient. This study can be applied in the routine brain CT scan.

 

Keywords : Computed Tomography of the brain, Radiation dose, Dose length product : DLP 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0