หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยวิธีกล้องวีดีทัศน์ทำให้ไม่มีรอยแผลผ่าตัดที่บริเวณลำคอเพื่อเป็นประโยชน์ในเรื่องความสวยงามของผู้ป่วย ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยกล้องวีดีทัศน์แบบวิธีผ่าตัดผ่านทางรักแร้-เต้านม กับ วิธีผ่าตัดผ่านทางหน้าอก-เต้านม ในโรงพยาบาลอุดรธานีขึ้น จุดประสงค์ของศึกษานี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของผลจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยกล้องวีดีทัศน์ระหว่างวิธีผ่าตัดผ่านทางรักแร้-เต้านม กับ วิธีผ่าตัดผ่านทางหน้าอก-เต้านม ในผู้ป่วยที่ตรวจพบก้อนไทรอยด์โต
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง ระหว่างเดือนมกราคม 2551 ถึง ธันวาคม 2554 ในโรงพยาบาลอุดรธานี ผู้ป่วยจำนวน 87 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบผ่านรักแร้เต้านม (endoscopic thyroidectectomy trans-axilloareolar approach, A-A group) จำนวน 52 ราย และ ผ่าตัดแบบผ่านหน้าอกเต้านม endoscopic thyroidectomy trans-thoracoareolar approach, T-A group) จำนวน 35 ราย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความแตกต่าง เช่น ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัด ผลชิ้นเนื้อ และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด โดยวิธีการทางสถิติ คือ Pearson Chi-Square test, Mann-Whitney U test, Students t-test และ Fishers exact test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยใน A-A group มีอายุเฉลี่ยมากกว่าใน T-A group (39.9±11.4 และ 37.0±10.4 ปี, p=0.234) ใน A-A group ผ่าตัดในก้อนไทรอยด์ที่มีขนาดเล็กกว่าใน T-A group (3.6±0.9 และ 4.4±1.2 ซม., p=0.002) ค่าเฉลี่ยปริมาณเลือดที่เสียระหว่างการผ่าตัดใน A-A group น้อยกว่าใน T-A group (36.0±22.0 และ 69.4±86.2 ซีซี, p=0.175) ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดใน A-A group น้อยกว่าใน T-A group (100.5±30.2 และ 104.6±34.8 นาที, p=0.562) ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล ใน A-A group มากกว่าใน T-A group (4.2±2.1 และ 4.1±1.0 วัน, p=0.534) ค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลใน A-A group มากกว่าใน T-A group (25,735.3±6,340.9 และ 23,876.8±3,434.2 บาท, p=0.357) ผลชิ้นเนื้อส่วนใหญ่พบเป็น nodular goiter สำหรับภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ในส่วนของ transient recurrent laryngeal nerve palsy พบว่าใน A-A group พบร้อยละ 23.1 ใน T-A group พบร้อยละ 11.4 (p=0.169) สำหรับภาวะ transient hypocalcemia ใน A-A group พบร้อยละ 5.8 ใน T-A group พบร้อยละ 5.7 (p=1.000) ในส่วนภาวะ hypertrophic scar พบเฉพาะใน T-A group คิดเป็นร้อยละ 5.7 พบว่าไม่มีผู้ป่วยรายใดต้องเปลี่ยนการผ่าตัดเป็นแบบเปิด
สรุป: การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยกล้องวีดีทัศน์โดยวิธีผ่าตัดผ่านทางรักแร้-เต้านม กับวิธีผ่าตัดผ่านทางหน้าอก-เต้านม เป็นวิธีที่ปลอดภัยและให้ผลดีในเรื่องความสวยงามของแผลผ่าตัด ในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ระยะเวลาที่นอนในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล ปริมาณเลือดที่เสียไปในระหว่างผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้งสองกลุ่ม
Background and objective: Endoscopic thyroidectomy making the scar outside the neck area has a cosmetic appeal for patient. We have developed endoscopic thyroidectomy procedures using the trans-axilloareolar and the trans-thoracoareolar approaches in Udonthani hospital. The objective of this study was to evaluate and compare the surgical outcomes of endoscopic thyroidectomy between the trans-axilloareolar and the trans-thoracoareolar approaches in patients with clinical thyroid nodule.
Methods: Of the 87 patients enrolled from January 2008 to December 2011 in this retrospective study, 52 underwent endoscopic thyroidectomy via the trans-axilloareolar approach (A-A group); 35 underwent endoscopic thyroidectomy via the trans- thoracoareolar approach (T-A group). Demographic data, clinico-pathologic characteristics, operative and hospitalization times between the two groups were analyzed. Complication such as hypocalcemia, recurrent laryngeal nerve palsy and wound complication were also evaluated. The Pearson Chi-Square test, Mann-Whitney U test, Students t-test and Fishers exact test were used for statistical analysis.
Results: The A-A group was older than the T-A group (39.9±11.4 vs 37.0±10.4 yrs, p=0.234). The size of thyroid nodule in the A-A group was smaller than the T-A group (3.6±0.9 vs 4.4±1.2 cm., p=0.002). Estimated blood loss in the A-A group was less than in the T-A group (36.0±22.0 vs 69.4±86.2 cc, p=0.175). The operative time was shorter in the A-A group than the T-A group (100.5±30.2 vs 104.6±34.8 min, p=0.562). The mean hospitalization duration in the A-A group was longer than the T-A group (4.2±2.1 vs 4.1±1.0 days, p=0.534). The total charged cost was higher in the A-A group than the T-A group (25,735.3±6,340.9 baht vs. 23,876.8±3,434.2 baht, p=0.357). Most thyroid nodules were of nodular goiter type. The complications in the A-A group and T-A group, such as transient recurrent laryngeal nerve paralysis, occurred in 23.1% and 11.4% of patients, respectively, (p=0.169). Transient hypocalcemia occurred in 5.8% and 5.7% of patients, respectively, (p=1.000). Hypertrophic scar occurred 5.7% in the T-A group. There were no conversion to open surgery.
Conclusion: Endoscopic thyroidectomy via trans-axilloareolar and trans-thoracoareolar approaches are safe and gives favorable cosmetic results. There were no significant differences in operative time, mean hospitalization duration, total cost, estimated blood loss and complications between the two groups.
. . .
Full text.
|