หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์แบบแผลผ่าตัดรูเดียว ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีเรื่องแผลผ่าตัดที่น้อยและความเจ็บปวดที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์แบบเดิม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของผลจากการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์แบบแผลผ่าตัดรูเดียว กับแบบแผลผ่าตัดสามรู
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า ระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึงตุลาคม 2555 ในโรงพยาบาลอุดรธานี ผู้ป่วยจำนวน 50 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบ single-incision laparoscopic cholecystectomy (SILC group) จำนวน 25 ราย และ ผ่าตัดแบบ 3-port laparoscopic cholecystectomy (LC group) จำนวน 25 ราย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความแตกต่าง เช่น ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ระดับความเจ็บปวดแผลผ่าตัดในวันหลังผ่าตัดที่ 1, 2 และ 3 ตำแหน่งของช่องท้องที่ปวดหลังผ่าตัด โดยวิธีการทางสถิติ คือ Pearson Chi-Square test, Mann-Whitney U test, Students t-test และ Fishers exact test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยใน SILC group มีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าใน LC group (49.16±14.79 และ 52.48±11.46 ปี, p=0.380) BMI ใน SILC group สูงกว่าใน LC group (23.08± 4.95 และ 22.81±4.31 กก/เมตร2, p=0.837) ค่าเฉลี่ยปริมาณเลือดที่เสียระหว่างการผ่าตัดใน SILC group น้อยกว่าใน LC group (14.80±9.26 และ 15.40±9.34 ซีซี, p=0.719) ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดใน SILC group มากกว่าใน LC group (64.60±28.43 และ 45.40±14.00 นาที, p=0.005) ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล ใน SILC group น้อยกว่าใน LC group (4.28±0.89 และ 4.84±1.49 วัน, p=0.165) ค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลใน SILC group มากกว่าใน LC group (29,350.60 ± 3,354.41 และ 29,239.80 ± 3,026.57 บาท, p =0.903) ค่าเฉลี่ยระดับความปวดแผลหลังผ่าตัดในวันที่ 1, 2 และ 3 ของ SILC group และ (LC group) คือ 5.20 (4.84) (p=0.486), 3.44 (3.48) (p =0.901) และ 1.72 (2.20) (p=0.159) ตามลำดับ สำหรับ SILC group และใน LC group มีจำนวนผู้ป่วยที่ปวดช่องท้องหลังผ่าตัด ตำแหน่งบริเวณ umbilicus 25 (ร้อยละ 100)/ 24 (ร้อยละ 96), epigastrium 7 (ร้อยละ 28)/18 (ร้อยละ 72), right hypochondrium 2 (ร้อยละ 8)/17 (ร้อยละ 68)
สรุป: การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยกล้องวีดีทัศน์แบบแผลผ่าตัดรูเดียวผ่านทางสะดือ เป็นวิธีผ่าตัดที่ปลอดภัย และให้ผลดีในเรื่องการลดจำนวนบาดแผลผ่าตัดและความเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าตัด ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดของ SILC group นานกว่า LC group และ ตำแหน่งของช่องท้องที่ปวดหลังผ่าตัดบริเวณ epigastrium และ right hypochondrium ใน LC group พบผู้ป่วยที่ปวดบริเวณดังกล่าวมีจำนวนมากกว่าใน SILC group ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Background and objectives: Single incision laparoscopic cholecystectomy (SILC) has been increasingly performed. It seems plausible that SILC will be associated with less incision wounds and pain compared to the 3-port laparoscopic cholecystectomy (LC). The objective of this study was to evaluate and compare the surgical outcomes of the SILC and LC methods.
Methods: Of the 50 patients at Udonthani Hospital who were enrolled from December 2011 and October 2012 in this prospective study, 25 patients underwent single incision laparoscopic cholecystectomy (SILC group); 25 patients underwent 3-port laparoscopic cholecystectomy (LC group). Demographic data, clinico-pathologic characteristics, operative and hospitalization times, postoperative pain score days 1, 2 and 3 and pain sites between the two groups were analyzed. The Pearson Chi-Square test, Mann-Whitney U test, Students t-test and Fishers exact test were used for statistical analysis.
Results: The SILC group was younger than the LC group. The BMI was higher in the SILC group than the LC group (23.08± 4.95 vs 22.81±4.31 kg/m2, p=0.837). Estimate blood loss in the SILC group was less than in the LC group (14.80±9.26 vs 15.40±9.34 cc, p=0.719) . The operative time was longer in the SILC group than the LC group (64.60±28.43 vs 45.40±14.00 min, p=0.005). The mean hospitalization period in the SILC group was shorter than the LC group (4.28±0.89 vs 4.84±1.49 days, p=0.165). The total cost was higher in the SILC group than the LC group (29,350.60±3,354.41 vs 29,239.80±3,026.57 baht, p=0.903). Average pain score on postoperative days 1, 2, 3 of SILC group and (LC group) were 5.20 (4.84) (p=0.486), 3.44 (3.48) (p=0.901), 1.72 (2.20) (p=0.159), respectively. The umbilical pain for the SILC group versus the LC group is 25(100%)/ 24(96%), the epigastrium pain is 7(28%)/18(72%) and right hypochondrium pain is 2(8%)/17(68%).
Conclusion: The single incision laparoscopic cholecystectomy via trans-umbilicus is safe and give results in fewer incision wounds and less wound pain. Operative time for SILC group was longer, and the proportions of patients suffering epigastrium and right hypochondrium pains were significantly higher in the LC group.
. . .
Full text.
|