Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Panda’s Model for Children of the Chest X-ray Equipment

อุปกรณ์ถ่ายภาพรังสีทรวงอกรูปทรงหมีแพนด้าสำหรับเด็ก

Petcharakorn Hanpanich (เพชรากร หาญพานิชย์ ) 1, Bunjong Keonkaew Keonkaew (บรรจง เขื่อนแก้ว) 2, Saipin Pealpong (สายพิณ ผิวผ่อง) 3, Banjawan Chaison (เบญจวรรณ ไชยสอน) 4, Lalinlita Sutjachalee (ลลิลริตา สุจจชารี) 5, Udomlux Ardsiri (อุดมลักษณ์ อาจศิริ) 6




หลักการและวัตถุประสงค์:  ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี เมื่อเด็กเข้าห้องตรวจและเห็นเครื่องถ่ายภาพรังสี มักจะเกิดความกลัว และไม่ยอมร่วมมือ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ หรือญาติต้องเกลี้ยกล่อมอยู่นาน ทำให้ใช้เวลาในการบริการที่นานขึ้น และต้องมีผู้ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ  เพื่อช่วยจับตัวเด็กให้แนบชิดกับตลับใส่ฟิล์ม (radiographic cassette) ซึ่งทำให้บุคคลดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยจากรังสี ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้สร้างอุปกรณ์ชนิดใหม่ โดยได้ออกแบบอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นรูปหมีแพนด้า ที่เป็นรูปทรงที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ ที่น่าจะช่วยลดความกลัวของเด็กลงได้  เพื่อนำไปสู่การที่เด็กให้ความร่วมมือในการถ่ายภาพรังสี โดยผู้ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องยืนอยู่ใกล้ ๆ   ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงภัยจากรังสีแก่บุคคลเหล่านั้นด้วย

วิธีการศึกษา: สร้างนวัตกรรม โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ซ่อมแซม ออกแบบ และจัดสร้างอุปกรณ์ ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ 

ผลการศึกษา: อุปกรณ์ถ่ายภาพรังสีทรวงอกรูปทรงหมีแพนด้าสำหรับเด็กชนิดใหม่นี้ มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ที่มีความเหมาะสมในการใช้งานได้จริง

สรุป: อุปกรณ์ที่จัดสร้างมีคุณภาพดีสามารถใช้ในงานบริการได้จริง และสามารถใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคได้เทียบเท่าวิธีการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเดิม โดยมีข้อดีกว่า คืออุปกรณ์ชนิดใหม่นี้ลดความกลัวของเด็กลงได้ ทำให้เด็กสามารถนั่งอยู่คนเดียวในพื้นที่ ๆ มีรังสีได้ และเด็กให้ความร่วมมือในการถ่ายภาพรังสีในเวลาที่กำหนดได้ โดยไม่ต้องมีญาติหรือเจ้าหน้าที่มาคอยช่วยจับตลับใส่ฟิล์ม ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงภัยจากรังสีแก่บุคคลดังกล่าว นอกจากนี้ อุปกรณ์ยังมีโครงร่างสวยงาม สามารถใช้เป็นเครื่องเล่นสำหรับเด็กขณะรอรับบริการได้อีกด้วย

คำสำคัญ : นวัตกรรม, อุปกรณ์ถ่ายภาพรังสี, การถ่ายภาพรังสีทรวงอก

 

Background and Objective: One main obstacle of operating chest x-ray for the children patients of  age 3-6 years old is the fear of equipment from those children. When they went into the x-ray room and saw the machine, they always were uncooperative. So, radiographer technologist and parents needed to spend a long time in accompanying and motivating them. Their parents or hospital staffs needed to hold the radiographic cassette while the chest x-ray machine operated. For this reason, the parents or hospital staff could be in risk of getting radiation. The idea of inventing this new panda’s model chest x-ray equipment is to help children to be comfortable enough  to stay alone while they receive chest x-ray and accordingly,   reduce the risk of radiation for their parents and hospital staff who used  to  involve in the chest x-ray process.

Methods:  The innovations of this new equipment are in two steps : Firstly, repair, design and construction of the equipment. Secondly, test and evaluate the quality of equipment.

Results:  This new Panda’s model is practical for chest x-ray in children.

Conclusions : This new equipment is  effective for using in the real situation for diagnosis which can replace the old chest x-ray procedure. The advantage of this new equipment is that the child patients are able to stay in radiation area alone without any help from their parents and hospital staff. Therefore, it can  reduce the radiation hazard for them. Moreover, as a panda cartoon character, it also can be used as a toy while the children patients are waiting for their service.

Keyword: Innovation, X-ray accessories, Chest x-ray

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0