Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Internship Doctors’ Knowledge and Attitudes Toward Pain Management in Cancer Patients at General Hospitals in Northeast Thailand

ความรู้และทัศนคติต่อการระงับปวดผู้ป่วยมะเร็งของแพทย์เพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Panaratana Ratanasuwan Yimyaem (พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม) 1, Thitinat Tassakhon (ธิตินัฐ ทัศคร) 2, Wimonrat Sriraj (วิมลรัตน์ ศรีราช) 3, Malinee Wongswadiwat (มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์) 4, Sasiwimon Pongjanyakul (ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล) 5, Raruen Sankhot (ระรื่น แสนโคตร) 6, Akkharawat Sinkueakunkit (อัครวัฒน์ สินเกื้อกูลกิจ) 7, Somboon Thienthong (สมบูรณ์ เทียนทอง) 8




หลักการและวัตถุประสงค์:  ความปวดเรื้อรังในผู้ป่วยมะเร็งก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายประการ การระงับปวดผู้ป่วยมะเร็งในระดับโรงพยาบาลทั่วไปและชุมชน แพทย์เพิ่มพูนทักษะจะเป็นผู้มีบทบาทในการรักษา ดังนั้นจึงต้องมีความรู้และทัศนคติต่อการระงับปวดที่ถูกต้องเพื่อให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะของแพทย์เพิ่มพูนทักษะในการระงับปวดผู้ป่วยมะเร็ง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้าในแพทย์เพิ่มพูนทักษะที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสอบถามและได้รับความยินยอมก่อนการศึกษา ข้อมูลที่ศึกษา ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านความรู้ (20 คะแนน) ทัศนคติในการระงับปวด ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาค่าความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้ Chi Square และ Mann-Whitney test กำหนดค่าความเชื่อมั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05

ผลการศึกษา: อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามจำนวน 122 ราย (ร้อยละ 43.1) ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานหลังจบการศึกษาช่วง 1 ถึง 3 เดือนร้อยละ 76.2 มีการสอนการจัดการความปวดในสถาบันที่จบการศึกษาร้อยละ 69.7 และส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยร้อยละ 81.1 แพทย์เพิ่มพูนทักษะมีค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของคะแนนความรู้เรื่องการระงับปวดผู้ป่วยมะเร็งเท่ากับ 11 (2.66) ตอบคำถามความรู้เรื่องการประเมินความปวดได้ถูกต้องเพียง 2 ถึง 3 ข้อจาก 5 ข้อร้อยละ 55.7 มีความรู้เรื่องการติดยามอร์ฟีนร้อยละ 34.4 ความรู้ที่ส่วนใหญ่ตอบถูกน้อยที่สุด คือ การใช้สัญญาณชีพเป็นข้อบ่งชี้ที่แสดงระดับความรุนแรงของความปวดที่น่าเชื่อถือ (ร้อยละ 33.6) และพบความแตกต่างของคะแนนระหว่างสถาบันที่มีการสอนและไม่มีการสอน (p= 0.03) ด้านทัศนคติในเรื่องต่างๆในการระงับปวด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ไม่มีข้อจำกัดในการรักษาและข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ขอให้มีการจัดอบรมทบทวนความรู้และจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติการรักษา

สรุป :  ความรู้เรื่องการระงับปวดผู้ป่วยมะเร็งของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ โดยเฉพาะด้านการประเมินความปวดและเรื่องการติดยากลุ่มมอร์ฟีนยังเป็นโอกาสในการพัฒนา ส่วนใหญ่มีทัศนคติในเรื่องต่างๆในการระงับปวดระดับปานกลาง ดังนั้นควรพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องรวมถึงจัดอบรมและจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติในการรักษา เพื่อให้การรักษาความปวดผู้ป่วยมะเร็งมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อไป

คำสำคัญ : แพทย์เพิ่มพูนทักษะ, ความรู้, ทัศนคติ, ความปวดจากมะเร็ง

 

Background and Objective: Cancer pain can affect many adverse consequences. The internship doctors have a major role in cancer pain management at rural and general hospital. The internship doctor must have good/correct/adequate knowledge and good attitudes toward pain relief for effective pain management. This study aims to evaluate the knowledge, attitudes, limitations and suggestions of physicians regarding cancer pain management

Methods:  A questionnaire was sent to all internship doctors who work at general hospitals in the northeastern region of Thailand and informed consents were also obtained from all participants. The demographic data, previous pain management education, clinical experience, knowledge of pain management (20 points), attitude towards cancer pain management and other relating variables were collected and analyzed. The Chi square and Mann-Whitney test were used to test for significant differences and p < 0.05 was considered statistically significant.

Results: The response rate of questionnaires is 43.1% (122 of 283). Most internship doctors (76.2%) sependence owledge erse sequafe rs (69.7%) who participated this study have 1-3 months of doctor career experience after graduation. The majority of internship doctors (69.7%) have been already educated pain management from their graduated medical schools. Additionally, most of them (81.1%) had an experience of pain management of malignant patients. The mean (SD) score of pain management among these doctors is 11 (2.66). There are 5 questions of pain assessment, however, only 55.7% can give correct answers for just 2 or 3 questions and only one-third of them have the knowledge of opioids dependence. Question which has the lowest proportion is that vital signs is an accurate indication for pain severity (33.6%). Data analysis showed that there is a statistically significant between the scores from questionnaires and previous education of pain management from their medical schools (p= 0.03). The attitude about pain management among these doctors is moderately satisfied and there is no limitation in pain treatment. In addition, these doctors suggested that they required the clinical practice guideline for cancer pain management and also further pain management training.

Conclusions: The knowledge of cancer pain management is required to be improved among the internship doctors especially in aspects of pain assessment and dependence relating to opioids usage. Hence, regular pain management training should be provided for the internship doctors and the standard clinical practice guideline should be also developed to effectively improve the quality of cancer pain management.

Keywords: internship doctors, knowledge, attitude, cancer pain

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0