Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Recurrence of Equinus Deformity in Cerebral Palsy Children after Orthopaedics Surgery, Long Term Follow-Up Study

การกลับเป็นซ้ำของภาวะเท้าเขย่งในเด็กสมองพิการหลังได้รับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์เมื่อติดตามผลระยะยาว

Kitiwan Vipulakorn (กิติวรรณ วิปุลากร) 1, Sudlah Prichanond (สุดหล้า ปรีชานนท์) 2, Samerduen Kharnwan (เสมอเดือน คามวัลย์) 3




หลักการและวัตถุประสงค์: เท้าเขย่งซึ่งพบในเด็กสมองพิการส่งผลต่อการยืนทรงตัวและการเดิน  การผ่าตัดรักษาภาวะเท้าเขย่งจะทำเมื่อการรักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ได้ผล แต่ก็ยังพบว่าเด็กเกิดเท้าเขย่งซ้ำได้อีก  การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราการเกิดเท้าเขย่งซ้ำในเด็กสมองพิการที่ได้รับการผ่าตัด ทางออร์โธปิดิกส์และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยต่อไป

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง ทำการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2543 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ.2553  มีเด็กจำนวน 95 ราย ที่ได้รับการผ่าตัดรักษาภาวะเท้าเขย่งในยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  รวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Stata 10,Texus USA 2007

ผลการศึกษา : พบการเกิดเท้าเขย่งซ้ำในเด็กสมองพิการ (CP) หลังได้รับการผ่าตัดจำนวน 21 ราย (ร้อยละ 22.1) อายุเฉลี่ยเมื่อเข้ารับการผ่าตัดคือ 7 ปี 8 เดือน (2-19.9ปี) ระยะเวลาตั้งแต่ผ่าตัดจนเกิดเท้าเขย่งซ้ำโดยเฉลี่ยคือ 3 ปี 5 เดือน(2-12.7 ปี) โดยมีอัตราการเกิดเท้าเขย่งซ้ำในกลุ่มที่ผ่าตัดยืดเอ็นกล้ามเนื้อน่อง (Tendo Achilles Lengthening(TAL) ร้อยละ 19.7  สำหรับผู้ที่ผ่าตัดพังผืดบริเวณรอยต่อเอ็นกล้ามเนื้อน่อง (Vulpius operation) พบการเกิดเท้าเขย่งซ้ำร้อยละ 27

สรุป :กิดเท้าเขย่งซ้ำในเด็ก CP หลังการผ่าตัดร้อยละ 22.1 กลุ่มที่ผ่าตัดโดยวิธี Vulpius จะพบเท้าเขย่งซ้ำมากกว่าวิธี TAL  ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแก้ไขเท้าเขย่งร่วมกับการทำผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์หลายระดับ(multilevel orthopaedics surgery)จะพบอัตราการเกิดเท้าเขย่งซ้ำน้อยกว่ากลุ่มที่ทำผ่าตัดระดับเดียว(single level orthopaedics surgery)

คำสำคัญ : เด็กสมองพิการ, เท้าเขย่ง , ผ่าตัดยืดเอ็นกล้ามเนื้อน่อง

 

Background and objectives : Equinus in cerebral palsy (CP) child affects standing balance and gait. Surgery is indicated after failure of conservative treatment. However, follow up after surgery are found recurrent equinus in some cases. The objectives of this study were (a) to identify recurrent rate of equinus after orthopaedics surgery in CP and analyze the factors related to recurrent (b) the information data will be useful for future plan of management in CP

Method :  A retrospective study, collected data from medical record during January 1, 2000 to May 31, 2010. Ninety-five participants who underwent orthopaedics surgery in Srinagarind Hospital,  Faculty of Medicine,  Khon Kaen University. Analysis of data with Stata10, Texus USA 2007.

Result: Recurrent equinus was found in 21 cases (22.1%). Mean age when started surgery was 7.8 years(2-19.9 yr). Mean duration after surgery until recurrent equinus detected was 3.5 years(2-12.7yr). Recurrent rate of equinus after Tendo Achilles Lengthening(TAL) was 19.7% and 27% in Vulpius operation respectively.

Conclusion : Recurrent equinus after surgery was 22.1%. Patient who underwent Vulpius operation has higher rate of recurrent than TAL group. Equinus corrected with multilevel orthopaedics surgery result in lower recurrent rate than single level orthopaedics surgery.

Keywords : Cerebral palsy, Equinus, TAL

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0