Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Validity of Kyphosis Measure Using the Occiput-Wall Distance and Effectiveness of Outcomes on the Identification of Impairments on Functional Endurance

ความเที่ยงการประเมินภาวะกระดูกสันหลังค่อมโดยใช้ระยะจากผนังและประสิทธิภาพของผลการประเมินในการระบุความบกพร่องของความทนทานในการทำงาน

Sawitree Wongsa (สาวิตรี วงษ์ษา) 1, Pipatana Amatachaya (พิพัฒน์ อมตฉายา) 2, Jeamjit Saengsuwan (เจียมจิต แสงสุวรรณ) 3, Thiwaporn Thaweewannakij (ทิวาพร ทวีวรรณกิจ) 4, Sugalya Amatachaya (สุกัลยา อมตฉายา) 5




หลักการและวัตถุประสงค์: การตรวจประเมินภาวะกระดูกสันหลังค่อมโดยใช้ระยะจากผนัง (occiput-wall distance) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางระบาดวิทยา แต่ยังไม่มีรายงานความเที่ยงของผลการวัดเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาความสัมพันธ์ของการประเมินภาวะกระดูกสันหลังค่อมโดยใช้ระยะจากผนังและวิธีมาตรฐานโดยใช้ flexicurve และเปรียบเทียบความแตกต่างของความทนทานในการทำงานในผู้สูงอายุที่มีความรุนแรงของภาวะกระดูกสันหลังค่อมระดับต่างๆที่ประเมินโดยใช้ระยะจากผนัง

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นแบบภาคตัดขวางในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แบ่งอาสาสมัครออกเป็นจำนวน 3 กลุ่มตามความรุนแรงของภาวะกระดูกสันหลังค่อมที่ประเมินโดยใช้ระยะจากผนัง อาสาสมัครทุกรายได้รับการประเมินภาวะกระดูกสันหลังค่อมโดยใช้ระยะจากผนังและ flexicurve และประเมินความทนทานในการทำงานโดยใช้ระยะทางการเดินในเวลา 6 นาที

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่าการประเมินภาวะกระดูกสันหลังค่อมโดยใช้ระยะจากผนังมีความสัมพันธ์ในระดับดีเยี่ยมกับผลการวัดโดยใช้ flexicurve (r= 0.925, p<0.001) โดยอาสาสมัครทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่างของระยะทางการเดินในเวลา 6 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.005)

สรุปผล: การวัดภาวะกระดูกสันหลังค่อมโดยใช้ระยะจากผนังมีความเที่ยงและประสิทธิภาพในการระบุความบกพร่องของความสามารถทางกาย ผลการศึกษาช่วยยืนยันการประยุกต์ใช้ระยะจากผนังในการประเมินและติดตามความรุนแรงของภาวะกระดูกสันหลังค่อมในคลินิกและชุมชนต่างๆ

 

คำสำคัญ: ภาวะกระดูกสันหลังค่อม, ผู้สูงอายุ, การประเมินภาวะกระดูกสันหลังค่อม, ระยะจากท้ายทอยถึงผนัง, ความสามารถทางกาย

 

Background and Objectives: The assessment of kyphosis using occiput-wall distance (OWD) is commonly used in epidemiologic studies. However, there were no reports on validity of the method as compared to a standard measurement. Thus this study investigated the correlation of kyphotic measures using OWD and a standard method using flexicurve. Moreover, the study compared the differences of functional capacity in elderly with different severity of kyphosis as determined by using OWD. 

Methods: The study was cross-sectionally conducted in elderly, aged at least 60 years old. Sixty-nine subjects were classified into three groups according to severity of kyphosis using data from OWD. Every subject was assessed kyphosis using OWD and flexicurve, and evaluated functional capacity using the 6-minute walk test.

Results: Results of the study demonstrated that a kyphotic measure using the OWD had excellent correlation with flexicurve (r = 0.925, p<0.001). In addition, distance walk in 6 minutes of the subjects were significantly different among the group (p<0.005).

Conclusion: Kyphosis measure using OWD is valid and effective to indicate the impairments of physical ability. The findings confirm the application of OWD to assess and monitor severity of kyphosis both in clinics and communities.

 

Keyword: Kyphosis, Elderly, Kyphotic measures, Occiput-wall distance, Physical abilities

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0