หลักการและวัตถุประสงค์: อาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม ซึ่งประกอบด้วยอาการเจ็บคอ เสียงแหบ และกลืนลำบาก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากภายหลังการระงับความรู้สึกและผ่าตัด โดยปัจจัยสำคัญหนึ่งคือ ความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจที่เพิ่มมากขึ้นหลังการระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลมของผู้ป่วยภายหลังการระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ ระหว่างการไม่ควบคุมและควบคุมความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจให้อยู่ระหว่าง 20-25 มม.ปรอท ตลอดการผ่าตัด
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วย 144 ราย ASA class I-II ที่นัดมาผ่าตัดและระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ ถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม โดยทั้งสองกลุ่มจะเติมอากาศเข้าไปในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจจนวัดความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจเริ่มต้นได้ 20 มม.ปรอท โดยที่กลุ่มควบคุมจะไม่มีการวัดค่าความดันของถุงลมปลายท่อช่วยหายใจอีกตลอดการผ่าตัด ส่วนกลุ่มที่ศึกษาจะวัดความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจอย่างต่อเนื่องและควบคุมความดันให้อยู่ระหว่าง 20-25 มม.ปรอท ตลอดการผ่าตัด จากนั้นเก็บข้อมูลอาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม ที่หอผู้ป่วยภายใน12-24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดโดยใช้ Numeric Rating Scale (NRS)
ผลการศึกษา: พบว่า อุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลมของผู้ป่วยภายหลังการระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)
สรุป: การวัดและควบคุมค่าความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจอย่างต่อเนื่องเพียงอย่างเดียว ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดและระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ ไม่สามารถลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของการเกิดอาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดได้
คำสำคัญ: อาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม, เจ็บคอ, เสียงแหบ, กลืนลำบาก, ความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจ
Background and Objective: Laryngotracheal discomforts are common in intubated patients after nitrous oxide anesthesia, due to increased endotracheal tube cuff pressure (intracuff pressure) during the intraoperative period. The aim of this study was to compare the incidence and severity of postoperative laryngotracheal discomforts between intraoperatively uncontrolled and controlled intracuff pressure between 20-25 mm.Hg.
Methods: One hundred and forty four patients, ASA physical status I-II who scheduled for elective surgery and received balanced general anesthesia with 67% nitrous oxide in oxygen, were randomly allocated to two groups. The endotracheal tube cuff was inflated with air in both groups to achieve a pressure of 20 mm.Hg. In control group (n=72), the cuff remained unmanipulated, whereas in study group (n=72), the intracuff pressure was controlled intraoperatively between 20-25 mm.Hg. Laryngotracheal discomforts were assessed using numeric rating scale (NRS) at ward 12-24 hours postoperatively.
Results: The incidence and severity of postoperative laryngotracheal discomforts in both groups were not different (p>0.05).
Conclusion: Intraoperatively controlled intracuff pressure during nitrous oxide anesthesia alone did not decrease postoperative laryngotracheal discomforts.
Key Words: postoperative laryngotracheal discomforts, sore throat, hoarseness, dysphagia, intracuff pressure
. . .
Full text.
|