หลักการและวัตถุประสงค์ : อาการปวดเข่าด้านหน้าหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ได้เปลี่ยนกระดูกสะบ้าซึ่งบางรายงานอาจสูงถึงร้อยละ 49 ประสิทธิผลของการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าในการลดอาการปวดเข่าด้านหน้ายังคงไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ศึกษาได้ทำการทดลองเชิงสุ่มเพื่อเปรียบเทียบถึงประสิทธิผลของการจี้ไฟฟ้าโดยจุดประสงค์หลักคือการลดอาการปวดเข่าด้านหน้า จุดประสงค์รองคือการประเมินผลทางคลินิกโดย American Knee Society Score (AKSS) และ patellar score
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าได้รับการสุ่มแยกเป็นกลุ่มที่จี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าและไม่จี้ไฟฟ้า กลุ่มที่จี้ไฟฟ้าจำนวน 41 ราย ไม่จี้ไฟฟ้าจำนวน 43 ราย ติดตามการรักษาที่เวลา 1 ปี ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดเข่าด้านหน้า และผลทางคลินิกของการผ่าตัดโดยใช้ AKSS และ patellar score
ผลการศึกษา: พบว่าการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าลดอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดเข่าด้านหน้าจากร้อยละ 32.6 ในกลุ่มที่ไม่จี้ไฟฟ้าเหลือร้อยละ 12.2 อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.04) ไม่พบความแตกต่างทางคลินิกเมื่อประเมินโดย AKSS และ patellar score
สรุป : การจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดเข่าด้านหน้า
คำสำคัญ : การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า, อาการปวดเข่าด้านหน้า, การจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้า
Background and objective : Anterior knee pain is a common problem after total knee arthroplasty. The incidence is as high as 49% in patients undergoing total knee arthroplasty with patellar retention. The efficacy of patellar rim electrocautery in reducing the incidence of anterior knee pain is unknown. We conducted a prospective randomized double blinded control trial to demonstrate the effect of patellar rim electrocautery in totally knee arthroplasty with patellar retention. The primary outcome measure was the anterior knee pain. The secondary outcomes were the clinical outcomes measured by American Knee Society Score (AKSS) and Patellar Score.
Methods : Patients requiring total knee arthroplasty with patellar retention for primary osteoarthritis were randomly assigned patellar rim electrocautery and without electrocautery. A total of 41 patients with patellar rim electrocautery and 43 patients without patellar rim electrocautery were included in this study. The incidence of anterior knee pain and clinical outcomes measured by AKSS and patellar score at 1 year follow up period were comparied.
Results : Postoperative anterior knee pain at one year after surgery was significantly lower in patellar rim electrocautery group 32.6% vs 12.2 %, (p=0.04). There was no significant difference in clinical AKSS and patellar score.
Conclusions : Patellar rim electrocautery is an effective method to reduce postoperative anterior knee pain.
Keywords: total knee arthroplasty, anterior knee pain, patellar rim electrocautery
. . .
Full text.
|