โรคไบโพลาร์ เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการทางจิตเวชที่มีความซับซ้อน ปัจจุบันยังไม่ทราบพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรคอย่างชัดเจน ส่วนยาที่ใช้รักษา เมื่อใช้เป็นยาเดี่ยวมักให้ประสิทธิผลดีต่อภาวะ mania หรือ ภาวะซึมเศร้า เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และเป็นยาต่างกลุ่มกัน เช่น ยาต้านอาการโรคจิต ยากันชัก เป็นต้น จึงเกิดสมมติฐานต่างๆเกี่ยวกับกลไกระดับโมเลกุลของยาเหล่านี้ในโรคไบโพลาร์ โดยบทความนี้มุ่งนำเสนอ 3 สมมติฐาน ได้แก่ 1) GSK-3 inhibition hypothesis เชื่อว่าการยับยั้งเอ็นไซม์ GSK-3 ป้องกันหรือชะลอการตายของเซลล์ 2) arachidonic acid cascade hypothesis เชื่อว่าการลดเมแทบอลิซึมของ arachidonic acid ในสมอง สามารถบรรเทาอาการของโรคไบโพลาร์โดยเฉพาะภาวะ mania และ 3) myo-inositol depletion hypothesis เชื่อว่าลิเทียม (lithium) แสดงผลควบคุมอารมณ์โดยลดปริมาณ myo-inositol นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงผลของยา quetiapine และ lamotrigine ต่อตัวรับและโปรตีนที่ผิวเซลล์ เช่น โปรตีนนำส่ง (transporters) และช่องนำส่งไอออน (ion channels) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพลาร์ อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยในอนาคตมีความสำคัญ เพื่อแสดงให้เห็นกลไกการเกิดโรคและเป้าหมายของยาในโรคไบโพลาร์ชัดเจนยิ่งขึ้น
Bipolar disorder (BD) is one of the complex syndromes in psychiatry. At present, the pathophysiology of BD is not well understood. Furthermore, drugs used to treat BD as monotherapy have an efficacy either in manic or depressive pole, and classified in different groups (e.g. antipsychotics, anticonvulsants). Therefore, many hypotheses have been proposed for the molecular mechanism of these drugs in BD. This article focuses on 3 hypotheses which include 1) the GSK-3 inhibition hypothesis insists that inhibition of GSK-3 results in attenuation or prevention of apoptosis, 2) the arachidonic acid cascade hypothesis asserts that downregulating brain arachidonic acid metabolism alleviate BD symptoms, particularly bipolar mania, and 3) the myo-inositol depletion hypothesis affirms that lithium exerts its mood stabilizing effect by decreasing inositol concentrations. In addition, mechanisms of quetiapine and lamotrigine on cell surface receptors and membrane proteins (e.g. transporters, ion channels) which may involve bipolar depression are mentioned. However, further studies may be required for more evidences of disease mechanisms and drug targets in BD.
. . .
Full text.
|