หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันในประเทศไทย มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นจากปัจจัยทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนมีอายุที่ยืนยาวขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ในด้านเศรษฐกิจและสังคมจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและการเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหาของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี
วิธีการศึกษา: เป็นแบบเชิงพรรณาภาพตัดขวาง (descriptive, cross-sectional design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 371 ราย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา เปรียบเทียบความแตกต่างและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงวิเคราะห์ เช่น T-test, One way ANOVA, Pearsons correlation, และ Stepwise Multiple Regression Analysis
ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศหญิง (ร้อยละ 61.2) มีสถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 66) มีลักษณะครอบครัวเดี่ยวจำนวน 188 ราย (ร้อยละ 50.7) และมีระดับการศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ร้อยละ 57) ข้อมูลแบบสอบถาม พบว่าผู้สูงอายุมีการเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัว อยู่ในระดับดี ด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้สูงอายุได้แก่ สถานภาพสมรสและลักษณะครอบครัว นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่มีการศึกษาสูงจะมีการปรับตัวที่ดีกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่า ที่สำคัญ ผลการศึกษาพบว่าการเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการปรับตัวของผู้สูงอายุ ในขณะที่ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับน้อย กับการปรับตัวของผู้สูงอายุ ในด้านตัวแปรที่ผลในการทำนายการปรับตัวของผู้สูงอายุ พบว่ามีเพียงตัวแปรการเผชิญหน้าปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมเท่านั้นที่ส่งผลต่อการปรับตัวของผู้สูงอายุ
สรุป: ผู้สูงอายุมีการเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหา, การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวอยู่ในระดับ ดี และพบว่าตัวแปรด้านการเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการปรับตัวของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ การปรับตัว การสนับสนุนด้านสังคม การเผชิญปัญหาที่มุ่งแก้ปัญหา
Background and Objective : Currently, there is an increase of numbers of elderly in Thailand due to physical and environmental factors expanded the life expectancy. Nevertheless, there still are several limitations related to economical and social factors affected the daily living of elderly. Therefore, Thai elderly are required to adjust themselves and live their lives successfully. This study aims to evaluate the correlation among social support, social activity involvement, problem-focused coping and self-adjustment of elderly at Ubon Ratchathani Municipality
Methods: It is a descriptive, cross-sectional design. There were totally 371 elderly volunteers living at Ubon Ratchathani province enrolled in this study. A questionnaire survey was launched for data collection. The statistics included both descriptive and analytical methods were implemented including; T-test, one way ANOVA, Pearsons correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
Results: The results showed most of volunteers were elderly females (61.2%), married (66%), and with a single family (50.7%). Their educational levels were mostly at the primary scho9ol level or below (57%). The overall results found most elderly have all problem-focused coping, social supports, and self-adjustment in good levels. Interestingly, only marital status and type of family were involved with a self-adjustment. Noticeably, elderly volunteers with a higher level of education can also do a better self-adjustment than those with a lower level. More importantly, the results revealed a problem-focused coping was highly positively related to a self-adjustment in elderly. In contrast, social support and social activity involvement were less positively involved with a self-adjustment.
Conclusion: Conclusively, the elderly have the problem-focused coping, social supports, and self-adjustment in good levels. Only, a problem-focused coping was strongly related to a self-adjustment of Thai elderly.
Key words: Elderly Self-Adjustment Social Support Problem-Focused Coping
. . .
Full text.
|