Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

A Giraffe Model of the Chest X-ray Equipment

อุปกรณ์ถ่ายภาพรังสีทรวงอกรูปทรงยีราฟ

Petcharakorn Hanpanich (เพชรากร หาญพานิชย์ ) 1, Bunjong Keonkaew (บรรจง เขื่อนแก้ว) 2, Sasinan Kumkantee (ศศินันท์ กำขันตี) 3, Saipin Pealpong (สายพิณ ผิวผ่อง) 4, Onpapra Pealpreung (อรปภา ผิวเหลือง) 5, Jitjaroen Chaiyakum (จิตเจริญ ไชยาคำ) 6, Sirinapa Namwong (ศิรินภา นามวงษ์) 7, Orathai Thaweesin (อรทัย ทวีสิน) 8




หลักการและวัตถุประสงค์: ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกจะพบปัญหาเกี่ยวกับผู้รับบริการเด็ก ที่มีอายุประมาณ 1-6 ขวบ เมื่อเข้าห้องตรวจและเห็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีทรวงอกแล้ว มักจะเกิดความกลัว หรือร้องไห้ ไม่ยอมให้ความร่วมมือ เจ้าหน้าที่ต้องเกลี้ยกล่อม ทำให้ใช้เวลาในการภาพถ่ายรังสีนานกว่าปกติ ส่งผลต่อผู้รับบริการคนอื่นๆที่รอตรวจต้องล่าช้าออกไป บางครั้งต้องมีผู้ปกครอง ญาติ หรือบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน คอยช่วยอยู่ใกล้ๆเพื่อจับตัวเด็กให้ชิดกับอุปกรณ์ถ่ายภาพรังสี ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บุคคลดังกล่าวมีโอกาสได้รับความเสี่ยงภัยจากรังสีโดยไม่จำเป็น ดังนั้นจึงได้สร้างอุปกรณ์ถ่ายภาพรังสีทรวงอกที่มีรูปทรงคล้ายยีราฟ  เพื่อเป้าหมายในการกระตุ้นความสนใจของผู้รับบริการที่เป็นเด็ก  ซึ่งช่วยทำให้การบริการสะดวก รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงภัยจากรังสีต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อการถ่ายภาพรังสีทรวงอกสำหรับการวินิจฉัยโรคได้

วิธีการศึกษา :  การศึกษาเชิงนวัตกรรม ณ ห้องเอกซเรย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แบ่งวิธีการออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลขนาดของตลับฟิล์ม (cassette) ตามขนาดรูปร่างของเด็กที่ใช้ประกอบการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและจัดสร้างอุปกรณ์ให้ทำงานได้ถูกต้อง สวยงามสะดุดตาสำหรับผู้ป่วยเด็กโดยคำนึงถึงความสะดวกต่อการใช้งาน   ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของโครงสร้างทางกายภาพ และประเมินความปลอดภัยต่อผู้รับบริการและบุคลากร

ผลการศึกษา:  อุปกรณ์ถ่ายภาพรังสีทรวงอกที่จัดสร้างมีรูปร่างคล้ายยีราฟ  มีล้อสามารถเคลื่อนที่ เคลื่อนย้ายได้สะดวก อุปกรณ์ส่วนใหญ่ทำด้วยไม้และโลหะที่แข็งแรง ได้ลบมุมที่แหลมคมออก ทาสีตกแต่งให้สวยงามให้มองเห็นเป็นรูปยีราฟ   ขนาดของอุปกรณ์ความกว้างคูณความยาวคูณความสูงเท่ากับ 45, 62, และ 145 เซนติเมตร ตามลำดับ จัดทำที่นั่งเป็นฟองน้ำ น้ำหนักรวมของอุปกรณ์ประมาณ 18 กิโลกรัม   เมื่อทำการตรวจสอบความปลอดภัย คุณภาพ ประสิทธิภาพของโครงสร้าง และประเมินอุปกรณ์พบว่า ที่ยึดจับตลับใส่ฟิล์มมีลักษณะที่ตั้งฉากสามารถรับรังสีเอกซ์ขณะถ่ายภาพได้ดี สามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงได้สะดวกและใช้กับตลับใส่ฟิล์มขนาด 8x10 และ 10x12 นิ้ว ได้ตามที่กำหนด มีที่รองนั่งสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า 40 กิโลกรัม และสามารถใช้งานทดแทนหรือใช้เหมือนอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่แต่เดิมได้

สรุป: อุปกรณ์ที่จัดสร้างนี้มีคุณภาพและสามารถทำงานทดแทนกับอุปกรณ์ถ่ายภาพรังสีทรวงอกเดิมที่ใช้งานอยู่ได้   และอุปกรณ์ที่จัดสร้าง มีรูปร่างสวยงาม สามารถใช้เป็นเครื่องเล่นสำหรับเด็กขณะรอรับบริการ ช่วยลดความกลัว ทำให้ผู้ป่วยเด็กยอมให้ความร่วมมือในการถ่ายภาพรังสี และทำให้เจ้าหน้าผู้ใช้งานปฏิบัติงานได้สะดวก รวดเร็วขึ้น

คำสำคัญ : อุปกรณ์ถ่ายภาพรังสี,  การถ่ายภาพรังสีทรวงอก

Background and Objective : In chest x-ray radiography, there was the problem found about the patients who age from 1– 6 years old. When they went into the x-ray room and saw the chest x-ray accessories, they always feared or cried. They were also uncooperative. Radiographer technologist tried very hard to motivate them, and it took long time to communicate with them. As a result, the other patients had to wait for a long time. Sometimes their parents or hospital staff had to help by standing near the patient or holding the x-ray cassette for them. For this reason, the parents or hospital staff could get the risk of radiation unnecessarily. The idea of inventing this equipment had occurred, and the new chest x-ray equipment was designed to be a  giraffe figure.  Its objective was to motivate the kid patients and  allow the them to play with it as a toy. It would help the chest x-ray job/room run smoothly. It could also reduce the risk of radiation for those who involve in the x-ray room and it can help the chest x-ray diagnosis.

Methods :  The study place was the x-ray room at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University and divided in to three steps.  First, the collection of  informations about patients, such as their body size, is collected and the x-ray cassette size is studied. Second, the process of  design and construction of the giraffe figure model of chest x-ray equipment. Finally, the equipment was sised and evaluated for its quality and satisfaction.

Result :  A chest x-ray radiography equipment was modified to have a giraffe figure. It has wheels to move around.   Most of equipment structure was made of wood and stainless steel which was cut off into giraffe shape. For safety, it was cut and scrubbed some sharp angle and it was painted some color for catching the young kid attention. The size of equipment was width x long x height, 45 x 62 x 145 centimeters. and the seat was made of sponge. The total weight of this equipment is about 18 kg. This equipment was tested for safety, quality, efficiency and evaluated by checking  x-ray cassette holder for perpendicular with radiation. It can be moved up, and down and it can hold x-ray cassettes size 8x10 and 10x12 inch. The seat can support the weight load over 40 kg and can replace or use as same as the original instrument.

Conclusion : Giraffe’s  equipment  is qualified and effective for chest x-ray radiography as  same as the  original  chest x-ray equipment. It is proved that it works well when it is used in the real situation. This equipment  attractive for the patients age a between 1-6 years old and the radiological technologists are able to do their jobs well.

Keyword : X-ray accessories, Chest x-ray

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0