Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Evaluation of the Effects of Using an Invented Lamp Attached to an Anesthetic Machine for Eye Surgery in the Dark Operating Room

ผลการประเมินการใช้โคมไฟที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อติดเครื่องดมยาสลบสำหรับการผ่าตัดตาที่ต้องปิดไฟมืดขณะผ่าตัด

Jongkolnee Saejung (จงกลณี แซ่จัง) 1, Sasithorn Mahatthanaporn (ศศิธร มหัทธนาภรณ์) 2




หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดโรคตาบางชนิดจักษุแพทย์จำเป็นต้องปิดไฟห้องผ่าตัดให้มืด ทีมวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ใช้เครื่องดมยาสลบ Datex-Ohmeda รุ่น Excel 210 SE ในห้องผ่าตัดตา ซึ่งไม่มีโคมไฟ จึงใช้ไฟฉายช่วยให้แสงสว่างขณะให้ยาระงับความรู้สึก ทำให้การให้ยาระงับความรู้สึกและการเฝ้าระวังผู้ป่วยเป็นไปได้ยาก ผู้วิจัยจึงประดิษฐ์โคมไฟขนาดเล็กแบบประหยัดติดกับเครื่องดมยาสลบ โดยประยุกต์ใช้โคมไฟแบบขาหนีบที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาประหยัดและสามารถทำเองได้ง่าย เพื่อให้แสงสว่างบริเวณที่ทีมวิสัญญีดูแลผู้ป่วย  การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โคมไฟขนาดเล็กแบบประหยัดที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อติดเครื่องดมยาสลบสำหรับการผ่าตัดตาที่ต้องปิดไฟมืดขณะผ่าตัดโดยเปรียบเทียบกับประสบการณ์การใช้ไฟฉายแบบเดิม

วิธีการศึกษา :  เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยใช้แบบสอบถาม อาจารย์วิสัญญีแพทย์ แพทย์ใช้ทุน/แพทย์ประจำบ้าน วิสัญญีพยาบาล วิสัญญีพยาบาลฝึกหัด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จำนวน 30 ราย เพื่อประเมิน ใน 4 หัวข้อ ได้แก่ 1. ความสะดวกในการใช้งาน 2. ความสว่างของแสงไฟในการใช้งาน 3.ความสะดวกในการปฏิบัติงาน 4.ความพึงพอใจในภาพรวมของการใช้งาน โดยเปรียบเทียบว่า ดีกว่าเดิมมาก = 3 คะแนน, ดีกว่าเดิมเล็กน้อย = 2 คะแนน, เหมือนเดิม = 1 คะแนน, แย่กว่าเดิม = 0 คะแนน นอกจากนี้ได้สอบถามจักษุแพทย์จำนวน 8 ราย ว่าแสงสว่างจากโคมไฟรบกวนการผ่าตัดหรือไม่

ผลการศึกษา :  พบว่า ผู้ประเมินทุกคนให้คะแนนการใช้โคมไฟขนาดเล็กแบบประหยัดที่ประดิษฐ์ขึ้นดีกว่าการใช้ไฟฉายแบบเดิมทุกหัวข้อการประเมิน คะแนนเฉลี่ยทุกข้ออย่างน้อย 2.93 โดยเฉพาะหัวข้อเรื่อง ความสะดวกในการใช้งาน ได้คะแนนเฉลี่ย 3 คะแนนเต็ม และจักษุแพทย์ทั้ง 8 ราย ระบุตรงกันว่าแสงสว่างจากโคมไฟที่เครื่องดมยาสลบไม่รบกวนการผ่าตัดเลย

 สรุป :  ผลการใช้โคมไฟขนาดเล็กที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อติดเครื่องดมยาสลบสำหรับการผ่าตัดตาที่ต้องปิดไฟมืดขณะผ่าตัด โดยใช้แบบประเมิน ผู้ประเมินทุกคนประเมินทุกหัวข้อดีกว่าการใช้ไฟฉายแบบเดิมมาก คะแนนเฉลี่ยอย่างน้อย 2.93

คำสำคัญ :  เครื่องดมยาสลบ, การผ่าตัดวุ้นตา, โคมไฟ

 

Background and objective:  Certain eye surgery needs to be operated in dark operating room. As The Anesthetic device called “Datex – Ohmeda, Excel 210 SE Type” employed by the operating team is not equipped with a lamp, a torch is used during   the anesthetic phase and the subsequent monitor. This may not be convenient nor effective. Due to this difficulty, the researchers invented a lamp attached to the anesthetic machine by applying a spotlight lamp with clamps which is practically available and easy to make.  This lamp can provide sufficient light for the anesthetic team to effectively monitor the patients. This study aimed to evaluate the degree of effectiveness of the use of an invented lamp attaching to an anesthetic machine compared with the experience of using a conventional touch in a dark operating room.

Methods:   The  research  was descriptive  using a questionnaire  to collect  data  from  30 respondents which consisted  of  anesthesiologists, anesthetic residents,  nurse anesthetists and nurse anesthetist trainees.  The  respondents  were asked  to  evaluate the 4 aspects namely  1) convenience in using the lamp  2) amount of light   3) convenience  in monitoring  patient   4)  overall  satisfaction . The  evaluating  scale included  the followings : 3 = much better , 2 = slightly better , 1= no change ,  0 = worse  than a conventional torch. Eight ophthalmologists were  asked to identify whether the light from  the  invented lamp  disturbed the operation  procedure .

Results:   Using an attached lamp was significantly better than using a conventional torch in all aspects particularly its convenient use (mean = 3.00 ). The average score for each aspect was highly favorable with at least 2.93. All the ophthalmologists agreed that the light from the  invented lamp  did not disturbed the operation  procedure at all . 

Conclusion:  Using an attached lamp in a dark operating room during the eye surgery is much more effective than using a convenience torch.

Keywords: anesthetic machine, vitrectomy, lamp

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0