Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Anxiety in Patients Prior to Barium Enema Procedure in Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

ความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการตรวจพิเศษลำไส้ใหญ่ทางรังสีของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Amornrat Mungsa (อมรรัตน์ มังษา) 1, Banjong Kheonkaew (บรรจง เขื่อนแก้ว) 2, Varaporn Silavised (วราภรณ์ ศิลาวิเศษ) 3, Keayoon Promon (เกยูร พรมอ่อน ) 4




หลักการและวัตถุประสงค์ : การตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีการการสวนแป้ง (Barium Enema) เพื่อหาพยาธิสภาพของลำไส้ใหญ่  ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากความวิตกกังวลก่อนรับการตรวจส่งผลถึงความร่วมมือของผู้ป่วย  ก่อให้เกิดอุปสรรคในการตรวจ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่ ความต้องการข้อมูล  และเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มีปัจจัยแตกต่างกันตาม  เพศ  อายุ   สถานภาพสมรส  การศึกษา อาชีพ  และรายได้ของครอบครัว

วิธีการศึกษา :  เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วย จำนวน 223 ราย  ที่มาตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่ ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น      มีอายุ ระหว่าง 25-80 ปี  ยินดีให้ความร่วมมือ รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ SPSS  ทดสอบค่าที (t- test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการศึกษา :  ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 69.1  ข้อมูลที่ผู้ป่วยต้องการทราบมากคือ ผลการตรวจ  ผลข้างเคียงการใช้สารทึบรังสี  และการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน  เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลเช่น  เพศ  ช่วงอายุ   สถานภาพครอบครัว  การศึกษา อาชีพ  และรายได้  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ( p < 0.05) 

สรุป :  ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลระดับปานกลาง  และข้อมูลที่ผู้ป่วยต้องการมาก คือผลการตรวจ   รองลงมาคือผลข้างเคียงจากสารทึบรังสี และ การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน   ปัจจัยด้านต่างๆที่ศึกษา ส่งผลต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วย

คำสำคัญ :  การตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่, ความวิตกกังวล

 

Background and Objectives:  Diagnosis of large intestine disease using barium enema examination may not be successful because the patient may be anxious during the pre-examination, resulting in non-cooperation with the procedure (i.e., to insert the barium sulphate injection head) and subsequent reception and retention of the contrast medium for the duration of the X-ray procedure. The objectives were (a) to assess the level of anxiety in patients undergoing barium enema (b) to evaluate the information required by the patients and (c) to compare the anxiety of patients with respect to gender, age, status, education, career and family income.

Method :  This was descriptive research set at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand.  The population sample included 223 patients between 25-80 years of age who gave informed consent.  The data were collected using a validated international questionnaire translated into Thai.  The data were then analyzed for t-test and one way ANOVA using SPSS for PC.

Results :  The anxiety score among the pre-examination patients was of a moderate level.  Two-thirds of the patients (69.1%) had a modest anxiety score.  The further information required by the patients included (a) diagnosis report (b) side-effects of the contrast media and (c) post-examination conduct (e.g., eat normally, drink fluids, follow-up with a doctor).  The anxiety of patients according to their gender, age, status, education, career and family income

Conclusion:  Overall the pre-examination patients had a moderate level of anxiety.  The descending rank of further information required was (a) diagnosis report (b) side-effect(s) of the contrast media and (c) post-examination conduct.  The demographic condition of the patient significantly affected their level of anxiety.

Keywords:  Barium enema examination, anxiety

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
Psychiatry
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0