หลักการและวัตถุประสงค์ : ปัจจุบันความสนใจด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจอาการเสริมและลดน้ำหนัก โดยผ่านสื่อโฆษณาในรูปแบบต่างๆ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมสุขศึกษาจากการประยุกต์ใช้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ และแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในด้านการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา วิธีการศึกษา : การศึกษาเป็นแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental), ทดสอบแบบก่อน-หลังโดยใช้กลุ่มเปรียบเทียบ (pre-posttest, controlled) ทำในอาสาสมัครทั้งสิ้น 95 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 46 ราย และกลุ่มควบคุม 49 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนในห้องเรียนตามปกติ การเก็บข้อมูลจะอาศัยแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้และทักษะเกี่ยวกับโรคอ้วน สื่อโฆษณาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ผลการศึกษา : กลุ่มทดลองมีการรับรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักและสื่อโฆษณา รวมทั้งทักษะการตรวจสอบโฆษณาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน พบว่าหลังจากกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา ค่าคะแนนโดยรวมทั้งความรู้และทักษะการตรวจสอบสื่อโฆษณาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักสูงกว่าก่อนทดสอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นกัน
สรุป : โปรแกรมสุขศึกษาที่จัดทำขึ้นมีผลทำให้การรับรู้ด้านสุขภาพ ความรู้และทักษะในการตรวจสอบสื่อโฆษณาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นหญิง
คำสำคัญ : แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อ สื่อโฆษณา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก
Background and Objectives : The current focus on health has been increased. Therefore, dietary and weight loss supplements has also been introduced into the current business throughout various public media and advertisement. The study aims to determine the effect of the health education program containing a modified model of health belief model and media literacy, particularly dietary supplement advertisement among female Mathyom students.
Methods : It was a quasi-experimental, pre-posttest, controlled study. There were 95 volunteers; a study group (46) and control group (49). Study volunteers received health education program containing a modified health belief model, whereas, those in control group received a usual class tutoring. Data collection was implemented a questionnaire paper containing knowledge and skills regarding obesity, media advertisement, and dietary supplement.
Results : A study group overall had a statistically significantly higher perceptions regarding health, basic knowledge of obesity, dietary supplement, media advertisement, and investigation skills regarding the advertisement and dietary supplement than a control group (p<0.05). Similarly, when compared the results within a group, the result showed a statistically significant higher scores in knowledge and investigation skills regarding the advertisement and dietary supplement of a study group, compared to a control group.
Conclusion : A health education program can positively affect the perceptions regarding health, basic knowledge of obesity, dietary supplement, advertisement, and investigation skills regarding the advertisement and dietary supplement among female high school students.
Key words Health belief model, Media literacy, Advertisement, Dietary supplement
. . .
Full text.
|