หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงและความเสื่อมตามวัยทำให้เกิดปัญหาด้านการเจ็บป่วยและส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิต จากการสำรวจผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลอุดรธานี พบว่า ผู้ป่วยน้ำหนักตัวลดลง เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลงและไม่พึงพอใจต่ออาหารที่โรงพยาบาลจัดให้เนื่องจากรายการอาหารส่วนใหญ่เป็นรายการอาหารภาคกลางซึ่งไม่สอดคล้องกับบริบทและพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพราะผู้ป่วยส่วนมากมีพื้นเพเป็นชาวอีสาน ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอีสานของผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกและข้อหัก เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดเตรียมอาหารให้ผู้ป่วยต่อไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดอาหารอีสานสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกและข้อหักในโรงพยาบาลอุดรธานี
วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้จาก ผู้ป่วยสูงอายุที่นอนรักษาตัวที่หอผู้ป่วยกระดูกและข้อ จำนวน 48 คน เป็นกลุ่มทดลอง 24 คน กลุ่มควบคุม 24 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการบริโภคอาหาร 3 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA ใช้สถิติเชิงอนุมาน และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานและสารอาหารและเปรียบเทียบความพึงพอใจก่อนและหลังการทดลองและวิเคราะห์ข้อมูลการบริโภคอาหารด้วยโปรแกรม INMUCALเพื่อหาค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ผู้ป่วยได้รับใน 1 วัน
ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มทดลองเป็นเพศหญิงร้อยละ 66.7 กลุ่มควบคุมเป็นเพศชายร้อยละ75.0 อายุเฉลี่ยของทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คือ 69 ปี อาศัยในเขตอำเภอรอบนอกของจังหวัดอุดรธานีร้อยละ 45.8 ของกลุ่มทดลอง และร้อยละ 58.3 ของกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับปริมาณพลังงานจากอาหารมี ค่าเฉลี่ย 1, 657.9 กิโลแคลอรี่ต่อวันคิดเป็นร้อยละ 94.8 ของปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในหนึ่งวัน กลุ่มควบคุมได้รับพลังงานเฉลี่ยเท่ากับ 1,283.7 กิโลแคลอรี่ต่อวันคิดเป็นร้อยละ 68.4 ของปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในหนึ่งวัน ในด้านการกระจายพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน กลุ่มทดลองได้รับร้อยละ 62.1:20.4: และ17.4 ตามลำดับ กลุ่มควบคุมได้รับร้อยละ 57.9:19.1 และ20.9 ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อการได้รับอาหารอีสานและอาหารปกติของโรงพยาบาลซึ่งมี 6 ด้าน คือ รายการอาหาร รสชาติ สีสันของอาหาร ปริมาณอาหารที่ได้รับ อุณหภูมิของอาหาร และเวลาที่บริการอาหาร หลังการทดลองพบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อการได้รับอาหารอีสานทั้ง6ด้านของกลุ่มทดลองอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นโดยมีคะแนนเฉลี่ย 135.4 กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ย 114.8 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-<0.01)
สรุป : ในการจัดอาหารให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลควรประยุกต์หรือดัดแปลงรายการอาหารให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตในการบริโภคอาหารของผู้ป่วยก่อนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ สามารถช่วยลดหรือแก้ปัญหาการขาดสารอาหารในผู้ป่วย ลดระยะเวลาในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ และผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกและข้อหักรับประทานอาหารอีสานจะได้รับปริมาณพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอกับปริมาณที่ควรได้รับในหนึ่งวัน
คำสำคัญ : อาหารอีสาน, อาหารในโรงพยาบาล, ความพึงพอใจต่ออาหาร, ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกและข้อหัก
Background and objective: Elderly people had been changed and declined as followed age by illness problems which affect on health status and quality of life. A survey of elderly patients in Udon Thani Hospital was found that the patients had weight loss, be bored with diet, and unsatisfactory with the food of hospital provided, because mostly lists of the food menu were a central regional food which not relevant with their contextual and food consumption behavior due to most patients were E-san people. The researcher has interested to study E-san food consumption of elderly patients with bone and joint fracture conditions in Udon Thani Hospital, which there will be information to plan the food for patients in the hospital continue. This study aims to the effects of E-san food providing for elderly patients with bone and joint fracture conditions in Udon Thani Hospital.
Materials and Methods : This research was quasi-experimental study. Elderly patients of 48 cases the experimental group the control group who admitted to the bed of orthopedic ward in Udon Thani Hospital, Udon Thani Province. By using the descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation, and the inferential statistics to compare the average of energy and mitrient intake food energy and nutrients and to compare satisfaction before and after the implementation.
Results: The results were found that the experimental group was 66.7% of female; the control group was 75.0% of male, with the averaged age of both groups were 69 years old. The estimated 45.8% and 58.3% of their residences were in the district outside of Udon Thani Province. The average energy intake of the experimental group was 1,657.9 kcal/day and accounted for 94.8% of daily recommended intake and accounted for 68.4% of daily recommended intake. The average energy distribution from earbohydrate, protein and fat of the experimental group was 62.1%, 20.4%, and 17.4%, respectively; the control group received 57.9%, 19.1%, and 20.9%, respectively. The satisfaction of E-san food and normal food received in the hospital which consists of 6 categories including food menu; tasting; color of food; amount of food received; temperatures of food; and timing of food service, after the intervention were found that the mean score of experimental group and control group was 135.4, and 114.8, When compared the scores between the experimental and control groups it was found that the experimental group had higher scores than the control group statistically significant (p-value<0.01).
Conclusion: Food providing to patients in the hospital should be applied or modified list of menu with consistent and appropriate the contextual or lifes style of food consumption of patients before admitted in the hospital, because it allows patients to eat which there can help reduce or solve the problem of malnutrition in patients, shorten to hospitalization and reduce costs of treatment. This studys results were indicated that elderly patients with bone and joint fracture conditions who eat E-san food will be sufficient the food energy and nutrients to the amount that should be received in a day.
Keywords: E-san food, food in the hospital, satisfaction with food, elderly patients with bone and joint fracture conditions
. . .
Full text.
|