Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

The Relationship Between Stimuli and Adaptation of Patients with Total Knee Arthroplasty

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการปรับตัวของผู้ป่วยหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Apirada Soison (อภิรดา สร้อยสน) 1, Suchitra Limumnoilap (สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ ) 2




หลักการและวัตถุประสงค์: การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นวิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย เพื่อช่วยลดอาการปวดเข่า ข้อติดผิดรูป ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้งานข้อเข่าได้ปกติ หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องมีการปรับตัว เพื่อให้สามารถใช้ข้อเข่าเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่ามีปัจจัยหรือสิ่งเร้าบางประการมีผลต่อการปรับตัวของผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้ป่วยหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการปรับตัวของผู้ป่วยหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอยเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงบรรยายแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่มาติดตามการรักษาที่ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2552 ถึง มกราคม พ.ศ.2553 จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินการปรับตัวของผู้ป่วยหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาระหว่างกัน

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับกำลังปรับตัว โดยด้านร่างกายอยู่ในระดับการปรับตัวมีประสิทธิภาพ   สำหรับด้านอื่นๆ อีก 3 ด้าน อยู่ในระดับกำลังปรับตัว ผู้ป่วยร้อยละ 54.02 อยู่ในระดับกำลังปรับตัว และร้อยละ 45.98 ปรับตัวในระดับมีประสิทธิภาพ  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการปรับตัวของผู้ป่วย พบว่า อายุ ,ระดับการศึกษา,รายได้เฉลี่ยของครอบครัว,ระยะเวลาภายหลังการผ่าตัด และพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่ามีความสัมพันธ์กับการปรับตัวโดยรวม แต่ เพศและสถานภาพสมรสไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัว

สรุป: ผู้ป่วยหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีการปรับตัวอยู่ในระดับกำลังปรับตัว ดังนั้นควรให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปรับตัวโดยคำนึงถึงสิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ: การปรับตัว, การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ทฤษฎีการปรับตัวของรอย

Background and Objective: Total knee arthroplasty is the surgical treatment for end stage knee osteoarthritis. This treatment aims for relieving pain, correcting deformities and bring back normal function knee. After surgery patient must adapt for using the artificial joint affectively. Moreover, there are some factors or stimuli associated with patient’s adaptation as well. Therefore the objectives of this study are to report patient’s adaptation after total knee arthroplasty and to identify the association between some stimuli and patient’s adaptation using concept of Roy adaptation theory. 

Methods: This study was cross-sectional descriptive study. The samples were 87 patients with total knee arthroplasty, who visited the follow-up schedule at Srinagarind hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University during November 2008 to January 2009. The study instrument was the evaluation form of patient’s adaptation in 4 modes, composed of physical, self-concept, role-function and interdependence modes.

Results: Most of the patients were in the compensatory level of adaptation. If consideration in each mode, the results showed that the physical mode was in the effective adaptation, but other modes were in the compensatory level of adaptation. Numbers of the patients were in the effective adaptation and in the compensatory level of adaptation were 45.98% and 54.02% respectively. Overall patient adaptation were mild to moderate correlated with these following stimuli: age, level of education, level of income, post operative period, and the range of motions in extension and flexion. Gender and marital status were not significantly correlated with overall patient adaptation.

Conclusion: The results of this study found that most of the patients with total knee arthroplasty were in the compensatory level of adaptation and had tendency to be in the effective adaptation. Therefore, appropriated nursing promotion for health should be emphasized to the patients according to these stimuli.

Key words: Patient adaptation, Total knee arthroplasty, The Roy Adaptation Model.

 

 

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0