Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Factors Related to Anesthetic Equipment Loss at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญหายของอุปกรณ์การแพทย์ของงานบริการวิสัญญี ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Wilawan Somdee (วิลาวัลย์ สมดี) 1, Akkharawat Sinkueakunkit (อัครวัฒน์ สินเกื้อกูลกิจ) 2, Kochakorn Palacheewa (กชกร พลาชีวะ) 3, Pumpuang Kingsangwal (พุ่มพวง กิ่งสังวาล) 4, Tippawan Muknumporn (ทิพยวรรณ มุกนำพร) 5




หลักการและวัตถุประสงค์ : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดอุปกรณ์การแพทย์ทางด้านงานบริการวิสัญญีประจำในห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น ตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย รวมมากกว่า 1,000 รายการ จากการสำรวจข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2550- กันยายน พ.ศ. 2551 พบว่า มีอุปกรณ์สูญหายรวม 18 รายการ คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 30,000-40,000 บาท ดังนั้น จึงต้องการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญหายของ อุปกรณ์ เพื่อหาแนวทางป้องกันต่อไป

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยปฏิบัติการ โดยใช้ข้อมูลเบื้องต้นของสาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์สูญหาย และวิธีการแก้ปัญหาโดยการใช้เครื่องมือแผนภูมิก้างปลา จากการจัดสัมมนาบุคลากรภาควิชาวิสัญญีวิทยา เมื่อวันที่ 28-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 จากนั้นทำการศึกษาหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญหายของอุปกรณ์ ระหว่างเดือนมีนาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยกลุ่มผู้วิจัยร่วมมือกับบุคลากรของกลุ่มงานเครื่องมือ จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ในแต่ละห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น พร้อมจัดทำสมุดดูแลอุปกรณ์ประจำห้องผ่าตัดทุกห้อง เมื่ออุปกรณ์สูญหายจะเชิญบุคลากรที่เกี่ยวข้องร่วมการสนทนากลุ่มย่อยทันที เพื่อหาสาเหตุและแนวทางในการป้องกัน แล้วสรุปข้อมูลและแจ้งข้อมูลแก่บุคลากรในที่ประชุมของภาควิชา

ผลการศึกษา:  ทำการสนทนากลุ่มย่อยกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องเมื่ออุปกรณ์สูญหาย จำนวน 150 คน แบ่งเป็นสนทนากับบุคลากรภาควิชาวิสัญญีวิทยา 60 คน (ร้อยละ 40) แผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด 30 คน (ร้อยละ 20)  แผนกการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ 20 คน (ร้อยละ 13.3) และหน่วยซักฟอก 40 คน (ร้อยละ 26.7) พบว่า ปัจจัยภายในหน่วยงานที่สัมพันธ์กับการสูญหายของอุปกรณ์ คือ กับบุคลากร ลักษณะงาน การบริหารจัดการ เวลา อุปกรณ์และงบประมาณ ส่วนปัจจัยภายนอกหน่วยงาน พบว่ามีความแตกต่างกันจำเพาะแต่ละหน่วยงาน จากผลที่ได้สามารถนำมาสร้างแนวทางปฏิบัติภายในหน่วยงานได้ 4 แนวทาง และกิจกรรมบางอย่างทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อช่วยป้องกันการสูญหายของอุปกรณ์ระหว่างหน่วยงานด้วย

สรุป : ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญหายของอุปกรณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ซึ่งผลจากการศึกษาสามารถนำมาสร้างแนวทางปฏิบัติภายในหน่วยงาน และกิจกรรมบางอย่างทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อช่วยป้องกันการสูญหายของอุปกรณ์ระหว่างหน่วยงานได้

Background and Objective:  During anesthesia and the post-operative period, standard equipment and monitoring are essential. Srinagarind hospital has over one thousand items of equipment for its 20 operating rooms and 2 post-anesthesia care units (PACU). Based on a survey between October 2007 and September 2008, it was discovered that 18 items of anesthetic equipment went missing, worth between 30,000 and 40,000 Baht. The objectives of this study were to identify the factors related to equipment loss and to find strategies to prevent or mitigate losses.

Methods :  We conducted qualitation research, using basic data regarding equipment losses derived from a problem-solving fishbone diagram that emerged during a departmental seminar in November 2008. Our responsive study ran between March and August 2009. The department provided the anesthetic equipment in all of the operating rooms and PACUs with checklist logs. When equipment went missing, researchers invited related personnel to discuss the loss and to find strategies for prevention (focus group discussion). The summary of the data collected and response protocols were later presented at a departmental conference.

Results : The focus group discussions during study period involved 150 personnel, comprising anesthesia personnel (60/150, 40%), operating room personnel (30/150, 20%), intensive care personnel (20/150, 13.3%) and laundry personnel (40/150, 26.7%). The study revealed that the intradepartmental factors related to equipment loss were personnel, work pattern, management, time of work, the involved equipment and the budget. But extradepartmental factors had specific differences depend on personnel groups. The process resulted in four intradepartmental preventive guidelines and some activities within and outside the department.

Conclusions : The factors related to anesthetic equipment loss involved both within and outside the department. Preventive guidelines have been established, including some activities both within and outside the department.

Keywords :  Anesthetic Equipment Loss

. . . Full text.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0